Knowledge Article


กินยาพร้อมนม ได้ผลหรือไม่ ?


อาจารย์ ดร.ภก. ธีรัตถ์ เหลืองมั่นคง
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : https://s.hswstatic.com/gif/antibiotics-dairy-1.jpg
288,880 View,
Since 2019-06-23
Last active: 18m ago

Scan to read on mobile device
 
A - | A +


"ไม่ควรรับประทานยานี้พร้อมนม" เป็นคำเตือนที่พบบนฉลากของยาหลายชนิด เนื่องจากนม (milk) และรวมไปถึงผลิตภัณฑ์นม (dairy product) เช่น เนย ชีส โยเกิร์ต มีปริมาณของแคลเซียมสูงจนมีโอกาสที่แคลเซียมเหล่านั้นจะเกิดปฏิกิริยากับยาที่รับประทานเข้าไป โดยการเกิดปฏิกิริยาระหว่างแคลเซียมและยามักส่งผลให้ยาหมดฤทธิ์และทำให้ประสิทธิผลของยาหมดไป จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาเหล่านี้พร้อมกับดื่มนมหรือบริโภคผลิตภัณฑ์นม ตัวอย่างยาสำคัญที่ใช้บ่อยและไม่ควรรับประทานพร้อมนม ได้แก่



สำหรับแนวทางการรับประทานยาเหล่านี้เพื่อให้เกิดประสิทธิผลของยาสูงที่สุด มีรายละเอียดดังนี้
  1. ควรรับประทานยาพร้อมน้ำเปล่าเสมอ น้ำเปล่าทำให้ตัวยาแตกตัว ละลายและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีที่สุด เนื่องจากน้ำเปล่าไม่มีปริมาณของแร่ธาตุหรือสารอาหารใดสูงจนเกิดปฏิกิริยากับยาและลดประสิทธิผลของยาได้ ดังนั้นแม้ในกรณีที่ไม่ทราบว่ายาสามารถรับประทานพร้อมนมหรือไม่ การรับประทานยานั้นพร้อมน้ำเปล่าก็ไม่ทำให้เกิดปัญหาใดๆ
  2. นมแม่ นมจากสัตว์ นมจากพืช เกิดปฏิกิริยากับยาได้เหมือนกัน นมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเพียงนมวัวเท่านั้น นมแม่ รวมไปถึงนมที่ได้จากสัตว์และพืช เช่น นมแกะ นมแพะ นมควาย นมถั่วเหลือง นมข้าวโพด นมอัลมอนด์ เป็นต้น ทั้งในรูปของผลิตภัณฑ์นมผง UHT, sterilized หรือ pasteurized ล้วนแต่มีแคลเซียมและอาจเกิดปฏิกิริยากับยาเหล่านี้ จึงควรหลีกเลี่ยงเช่นเดียวกัน
  3. หากจะดื่มนมหรือบริโภคผลิตภัณฑ์นม ควรรับประทานห่างจากยา 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้ยาและแคลเซียมในนมเกิดปฏิกิริยากันในกระเพาะอาหารหรือที่ลำไส้เล็ก เวลา 2 ชั่วโมงก่อนและหลังรับประทานยา จึงมากเพียงพอที่จะทำให้นมและยาไม่เคลื่อนที่ไปพบกันในระบบทางเดินอาหาร
  4. หากต้องผสมยา ควรผสมกับน้ำเปล่า น้ำหวานหรือน้ำผลไม้ เด็กหรือผู้ที่มีปัญหาในการกลืนอาจจำเป็นต้องผสมยาเพื่อช่วยให้กลืนยาได้ง่ายขึ้น โดยแนะนำให้ผสมยากับน้ำเปล่า น้ำหวานหรือน้ำผลไม้แล้วรับประทานยาที่ผสมนั้นให้หมดเพื่อให้ได้ปริมาณยาครบถ้วน และไม่ลืมที่จะรับประทานยาที่ผสมนั้นให้ห่างจากนมประมาณ 2 ชั่วโมง
  5. ปรึกษาเภสัชกรหากมีข้อสงสัยแน่นอนว่าการรับประทานยาพร้อมน้ำเปล่าเป็นวิธีที่ง่ายและดีที่สุด แต่หากมีความจำเป็นต้องรับประทานยาบางชนิดพร้อมนมด้วยเหตุจำเป็นใดๆ เภสัชกรอาจให้คำแนะนำและการแก้ปัญหาสำหรับการรับประทานยานั้นให้เหมาะกับสถานการณ์ได้มากที่สุด


เอกสารอ้างอิง
  1. Choi JH, Ko CM. Food and drug interactions. J Lifestyle Med. 2017;7(1):1-9.
  2. Cascorbi I. Drug interactions--principles, examples and clinical consequences. Dtsch Arztebl Int. 2012;109(33-34):546-55.
Others articles

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.