Knowledge Article


การลดสารตกค้างในผักและผลไม้


ศาสตราจารย์ ดร. ภญ. ลีณา สุนทรสุข
ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : https://foodrevolution.org/wp-content/uploads/2017/12/blog-featured_washing_produce-20171128.png
37,986 View,
Since 2019-03-17
Last active: 6m ago

Scan to read on mobile device
 
A - | A +


ปัจจุบันประชาชนมีความตื่นตัวเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น โดยหันมาออกกำลังกายและรับประทานอาหารสุขภาพที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างไรก็ตามปัญหาสารตกค้างในผักและผลไม้ยังเป็นภัยใกล้ตัวที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะสารที่รู้จักกันในนามของยาฆ่าแมลงและยาฆ่าหญ้า สารทั้งสองประเภทนี้จัดเป็นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นสารที่มีการใช้ในภาคเกษตรกรรมเพื่อกำจัดสิ่งมีชีวิตอื่นที่เป็นอันตรายหรือก่อความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร เช่น แมลง วัชพืช หนู สัตว์แทะ หอยและปู เป็นต้น นอกจากยาฆ่าแมลงและยาฆ่าหญ้าแล้วยังมีสารเคมีอีกหลายชนิดที่ถูกนำมาใช้เพื่อกำจัดศัตรูพืช โดยสามารถแบ่งสารเคมีเหล่านี้ตามชนิดของสิ่งมีชีวิตที่ต้องการควบคุมหรือกำจัด ดังแสดงในตารางที่ 1



ภาพจาก : https://www.rentokil.com/blog/wp-content/uploads/2016/06/9-risks-to-food-safety-for-supermarkets.png



สารเคมีข้างต้นนอกจากจะมีประโยชน์ต่อทางเกษตรกรรมแล้วในอีกแง่มุมหนึ่งก็จัดเป็นสารเคมีอันตรายที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค หากสัมผัส สูดดม หรือรับประทานสารเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย โดยสารบางชนิดก่อให้เกิดพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง พิษเฉียบพลันที่พบบ่อย ได้แก่ ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เป็นต้น ส่วนพิษเรื้อรัง ได้แก่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ก่อมะเร็ง และก่อให้เกิดความพิการแก่ทารก เป็นต้น ผลกระทบเหล่านี้นำไปสู่การยกเลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชบางชนิดในหลายประเทศทั่วโลก เช่น การยกเลิกการใช้พาราควอตในประเทศในสหภาพยุโรป กัมพูชา จีน คูเวต ลาว เกาหลีใต้ ศรัลังกา ซีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวียดนาม เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยมีความพยายามที่จะยกเลิกการใช้พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส โดยมีมาตรการลดการใช้และมาตรการทดแทน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี นับจากวันที่มีมติจากที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561เนื่องจากสารดังกล่าวเป็นสารเคมีอันตรายสะสมที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคไต โรคมะเร็ง โรคตับ รวมทั้งส่งผลต่อความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ และพัฒนาการทางสมองของเด็ก เป็นต้น 2,3

การป้องกันตนเองเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการบริโภคผลิตผลทางการเกษตรจึงเป็นแนวทางที่ประชาชนสามารถทำได้เพื่อลดปริมาณสารเคมีตกค้าง ซึ่งสามารถทำได้โดยการล้างผัก ผลไม้ ให้สะอาดก่อนนำไปรับประทานหรือประกอบอาหารด้วยวิธีการต่างๆ ดังแสดงในตารางที่ 2



เอกสารอ้างอิง
  1. http://www.greennet.org.th/node/265 สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2562
  2. http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/106 สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2562
  3. ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์และหลักฐานเชิงประจักษ์ ของสารเคมีกาจัดศัตรูพืช 3 ชนิด มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม : พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ประชาคมวิชาการและเครือข่ายนักวิชาการ พฤษภาคม 2561
  4. 4. https://www.honestdocs.co/how-to-clean-fruits-and-vegetables สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2562
  5. https://foodrevolution.org/blog/how-to-wash-vegetables-fruits สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2562
  6. ข้อมูลจากกองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.