อ่านบทความ “อันตรกิริยาระหว่างส้มโอกับยา (ตอนที่ 1)
รายชื่อยาที่สามารถเกิดอันตรกิริยากับเกรปฟรุตได้ ได้ถูกรวบรวมไว้ในตารางข้างล่างนี้ โดยในตารางได้ระบุชื่อยา รวมทั้งแนวโน้มที่จะเกิดอันตรกิริยา อาการที่อาจเกิด และรายชื่อยาที่สามารถใช้ทดแทนยาตัวนั้นๆ ได้หากต้องการรับประทานเกรปฟรุตหรือส้มโอ ซึ่งยาที่ใช้ทดแทนนี้จะให้ผลในการรักษาที่ใกล้เคียงกัน แต่ไม่ทำให้เกิดอันตรกิริยากับเกรปฟรุตหรือส้มโอ
(หมายเหตุ: ยังมียาอื่นๆ ที่มีรายงานว่าสามารถเกิดอันตรกิริยากับเกรปฟรุตได้ที่ไม่ได้ถูกรวบรวมมาไว้ในตารางนี้ แต่ท่านผู้อ่านสามารถตรวจสอบได้ในฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับอันตรกิริยาระหว่างเกรปฟรุตกับยาหรือฐานข้อมูลเกี่ยวกับยาที่ระบุชนิดของอาหารที่ควรระวังเมื่อรับประทานยานั้นๆ ได้โดยตรง)
อย่างไรก็ตาม การเกิดอันตรกิริยาระหว่างเกรปฟรุตหรือส้มโอกับยาและการตอบสนองต่อสาร Bergamottin ของแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปริมาณของเอนไซม์ Cytochrome P450 ที่มีอยู่ในร่างกายของคนนั้นๆ เพราะฉะนั้นผลที่เกิดขึ้นในคนๆ หนึ่งอาจไม่เกิดขึ้นกับอีกคนก็ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น การสังเกตตัวเองหลังจากการรับประทานส้มโอพร้อมกับยา จึงเป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อที่จะประเมินว่าเราสามารถรับประทานส้มโอพร้อมกับยาที่เราใช้อยู่ได้หรือไม่ การงดรับประทานส้มโอไปเลย เป็นสิ่งที่ผู้เขียนไม่แนะนำ เนื่องจากว่า ส้มโอนั้น มีแร่ธาตุและวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและยังช่วยต้านอนุมูลอิสระได้อีกด้วย
รายงานการเกิดพิษอย่างรุนแรงจากการรับประทานยาพร้อมกับเกรปฟรุต ซึ่งเกิดขึ้นในต่างประเทศ ได้ถูกรวบรวมไว้ในตารางข้างล่างนี้ ซึ่งตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่าคนส่วนใหญ่ที่เกิดพิษจากยาที่ค่อนข้างรุนแรงนั้น ได้รับประทานเกรปฟรุตหรือน้ำเกรปฟรุตในปริมาณที่ค่อนข้างสูงหรือต่อเนื่องกัน ดังต่อไปนี้
ซึ่งจากตารางนี้ พบว่าหากผู้ป่วยมีการรับประทานเกรปฟรุตในปริมาณที่ค่อนข้างมาก ก็จะเกิดพิษค่อนข้างเยอะ แต่อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าสารกลุ่ม Fluranocoumarins ในส้มโอนั้นมีน้อยกว่าที่พบในเกรปฟรุต ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาและส้มโอนั้นก็จะมีน้อยลงและผลเสียที่เกิดขึ้นก็จะรุนแรงน้อยกว่าด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเรายังต้องพิจารณาถึงปริมาณส้มโอที่รับประทานเข้าไปด้วย เพราะถึงจะมีสารกลุ่ม Fluranocoumarins น้อยกว่าเกรปฟรุตเกือบครึ่ง แต่หากเรารับประทานส้มโอในปริมาณที่มากกว่าปริมาณเกรปฟรุต (ที่แสดงเป็นตัวอย่างในตาราง) เป็นเท่าตัว โอกาสที่จะเกิดอันตรกิริยาที่รุนแรงก็อาจมีได้
มีการวิจัยพบว่า การยับยั้งเอนไซม์ Cytochrome P450 และปริมาณสาร Bergamottin ในเกรปฟรุต สามารถทำได้ 3 วิธี คือ
- การฉายรังสียูวี (UV radiation)
- การให้ความร้อน (heating juice) และ
- การเติมเชื้อราที่กินได้ลงไป (adding edible fungus)
ซึ่งทั้ง 3 วิธีนี้ เหมาะกับอุตสาหกรรมการผลิตน้ำเกรปฟรุต หรือน้ำส้มโอที่อาจเกิดอันตรกิริยาระหว่างยากับน้ำเกรปฟรุตหรือน้ำส้มโอได้เพื่อใช้ในผู้ป่วยเฉพาะราย ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีผลิตภัณฑ์น้ำ
เกรปฟรุตที่ทำให้ปลอดสาร Fluranocoumarins จำหน่ายแล้วในต่างประเทศ แต่ราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตเพิ่มเข้ามาด้วย
จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมา ก็พอสรุปได้ว่า ในกรณีที่ต้องใช้ยาตามรายการที่กล่าวมา ก็อาจต้องระวังการรับประทานส้มโอร่วมกัน โดยไม่ทานเยอะเกินไป หรือหลีกเลี่ยงการรับประทานพร้อมกับยา โดยไม่จำเป็นต้องงดหรือหยุดรับประทานส้มโอไปเลย ชีวิตก็มีความสุขได้เหมือนเดิมคะ
เอกสารอ้างอิง
- Scora RW. et al. (1982). Contribution to the Origin of the Grapefruit, Citrus paradisi (Rutaceae). Systematic Botany. Vol. 7, No. 2 (Apr. - Jun., 1982), pp. 170-177. Published by: American Society of Plant Taxonomists. Article URL: http://www.jstor.org/stable/2418325
- Guo LQ. et al. (2007). Different roles of pummelo furanocoumarin and cytochrome P450 3A5*3 polymorphism in the fate and action of felodipine. Current Drug Metabolism;8(6):623-30
- Vaquero MP. et al. (2010). Major diet-drug interactions affecting the kinetic characteristics and hypolipidaemic properties of statins. Nutr. Hosp. [online]; vol.25, n.2, pp. 193-206.
- Anlamlert W, Sermsappasuk P, Yokubol D, Jones S. (2015). Pomelo Enhances Cyclosporine Bioavailability in Healthy Male Thai Volunteers. Journal of Clinical Pharmacology: 55(4) 377–383.
- Chakthong S. (2012). Bergamottin and Its Role as Inhibitors of CYP3A4. KKU Science Journal: 40(4) 1025-1035.
- Mabberley DJ. (1997). A Classification for Edible Citrus (Rutaceae).Telopea 7(2): 167-172.
- Bailey DG, Dresser G, Arnold JM. (2013). Grapefruit-medication interactions: forbidden fruit or avoidable consequences?. Canadian Medical Association journal ; 185(4):309-16.
- Hermans K, Stockman D, Branden F. (2003). Grapefruit and tonic: a deadly combination in a patient with the long QT syndrome. Am J Med; 114:511–2.
- Pillai U, Muzaffar J, Sen S, et al. (2009). Grapefruit juice and verapamil: a toxic cocktail. South Med J; 102:308–9.
- Mazokopakis EE. (2008). Unusual causes of rhabdomyolysis. Intern Med; 38:364–7.
- Karch AM. (2004). The grapefruit challenge: the juice inhibits a crucial enzyme, with possibly fatal consequences. Am J Nurs ; 104: 33–5.
- Dreier JP, Endres M. (2004). Statin-associated rhabdomyolysis triggered by grapefruit consumption. Neurology 2004; 62:670.
- Peynaud D, Charpiat B, Vial T, et al. (2007). Tacrolimus severe over-dosage after intake of masked grapefruit in orange marmalade. Eur J Clin Pharmacol; 63:721–2.
- Goldbart A, Press J, Sofer S, et al. (2000). Near fatal acute colchicine intoxication in a child. A case report. Eur J Pediatr ; 159:895–7.
- Grande LA, Mendez RD, Krug RT, et al. (2009). Attention grapefruit. Lancet; 373:1222.
- Uesawa Y and Mohri K. (2006). The use of heat treatment to eliminate drug interactions due to grapefruit juice. Biological and Pharmaceutical Bulletin 29(11): 2274–2278.
- Myung K, Narciso JA and Manthey JA. (2008). Removal of furanocoumarins in grapefruit juice by edible fungi. Journal of Agricultural and Food Chemistry 56(24): 12064–12068.