Knowledge Article


ยาฆ่าเชื้อกับการตั้งครรภ์และให้นมบุตร


นศภ. ชนัญญา สุขโสภณ
นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
407,840 View,
Since 2014-10-26
Last active: 1m ago

Scan to read on mobile device
 
A - | A +


“ปวดหัว ตัวร้อน มีไข้สูงขณะตั้งครรภ์ มียาแก้อักเสบอยู่ที่บ้านรับประทานได้ไหมค่ะ?” “ ต้องให้นมลูก แต่ไม่สบายมากทำยังไงดีค่ะ” คำถามเหล่านี้แสดงให้เห็นโดยทั่วกันว่า มารดาเมื่อตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรอยู่นั้นให้ความสำคัญและมีความระมัดระวังต่อการใช้ยาค่อนข้างมาก เนื่องจากยาจำนวนไม่น้อยสามารถผ่านสายรก หรือละลายน้ำแล้วขับออกทางน้ำนม ซึ่งอาจส่งผลผลกระทบต่อทารกในครรภ์หรือต่อทารกที่ดื่มนมแม่อยู่ได้ อย่างไรก็ตามไม่ใช่ยาทุกตัวที่สามารถผ่านสายรก หรือขับออกทางน้ำนมและส่งผลต่อทารก ดังนั้น การเลือกใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรจึงมีความซับซ้อน ยาที่ร้านยามักจ่ายเพื่อบรรเทาอาการไม่สบายและค่อนข้างมีปัญหาในการเลือกใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรที่พบได้บ่อยคือ“ยาปฏิชีวนะ”

ยาปฏิชีวนะ หรือที่ชาวบ้านคุ้นเคยที่เรียกกันว่า “ยาฆ่าเชื้อ” บางครั้งเรียกกันผิดๆ ว่า “ยาแก้อักเสบ” เป็นยาที่ใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียจากภาวะติดเชื้อของร่างกาย ยาปฏิชีวนะที่เป็นยารับประทานมีอยู่หลายกลุ่ม ดังตารางต่อไปนี้









โดยสรุปแล้วยากลุ่ม Penicillinและ Cephalosporin ค่อนข้างมีความปลอดภัยเมื่อใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ถ้ามีประวัติแพ้ยากลุ่มดังกล่าว ควรเปลี่ยนเป็นยากลุ่ม Clindamycin หรือ Macrolide เช่น Erythromycin และ Azithromycin ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะและความรุนแรงของโรค อย่างไรก็ตามหากมีข้อสงสัยในการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง

เอกสารอ้างอิง

  1. Alexander JF, Caruther RL, Cash J, Al-jazairi A, Alqadheeb A, Cavallari LH, et al. Drug information handbook international. 22nd ed. Ohio: lexi-comp; 2013.
  2. Brigg GG, Freeman RK, Yaffe SJ. Drug in Pregnancy and Lactation. 9th ed. Philadelphia: Lippincott williams & wilkins; 2011.
Others articles

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.