Knowledge Article


แคลเซียม .. สาระน่ารู้


พิชญ์ภิญญาณ์ แก้วปานันท์
นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
45,014 View,
Since 2014-10-19
Last active: 6h ago

Scan to read on mobile device
 
A - | A +
แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่พบมากที่สุดในร่างกาย โดยร้อยละ 99 ของแคลเซียมในร่างกายจะเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน หน้าที่สำคัญ เช่น พัฒนาและสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน ควบคุมการทำงานของหลอดเลือด ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการเต้นของหัวใจ การส่งความรู้สึกไปตามเส้นประสาท การปลดปล่อยฮอร์โมน เป็นต้น1,2 ร่างกายจะมีกลไกที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียมในเลือดให้สมดุล หากในเลือดมีระดับแคลเซียมต่ำ ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมในกระดูกเพื่อรักษาสมดุลของแคลเซียมในเลือด ปกติร่างกายจะไม่สามารถสร้างแคลเซียมขึ้นมาได้เอง จึงต้องรับประทานเข้าไปเพื่อทดแทนแคลเซียมที่ถูกนำไปใช้หรือถูกขับทิ้งออกจากร่างกาย ซึ่งถ้าร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้1,3
  1. โรคกระดูกพรุน  เป็นภาวะที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง ทำให้กระดูกเปราะบางและมีโอกาสหักได้ง่าย โดยคนที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปจะเริ่มมีการสูญเสียมวลกระดูกมากขึ้น และอัตราการสูญเสียจะเพิ่มขึ้นทุกปี
  2. โรคความดันโลหิตสูง มีการศึกษาพบว่าคนที่ความดันโลหิตสูงมักจะรับประทานแคลเซียมน้อยกว่าคนปกติ และระดับแคลเซียมที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ความดันโลหิตลดลง เพราะแคลเซียมช่วยให้กล้ามเนื้อบีบตัวได้ดีและทำให้หัวใจและหลอดเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. อาการก่อนมีประจำเดือน เช่น ปวดหัว อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า อยากอาหาร เป็นต้น โดยมีการศึกษาพบว่าผู้หญิงที่รับประทานแคลเซียมขนาด 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน จะลดอาการก่อนมีประจำเดือนได้ร้อยละ 50

    กระทรวงสาธารณสุขกำหนดปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้บริโภคในแต่ละวันสำหรับกลุ่มอายุต่างๆ4  ดังต่อไปนี้



    แหล่งของแคลเซียมที่ได้รับ อาจมาจากการรับประทานอาหาร เช่น นม ปลาตัวเล็กที่ทานได้ทั้งกระดูก กุ้งฝอย กุ้งแห้ง กะปิ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ (ยกเว้นเต้าหู้ไข่) เป็นต้น หรือรับประทานยาเม็ดแคลเซียม แต่ผลิตภัณฑ์ยาเม็ดแคลเซียมจะมีความแตกต่างกันที่รูปเกลือ ซึ่งจะให้ปริมาณแคลเซียมที่ไม่เท่ากัน5 ดังต่อไปนี้



    ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะเป็นแคลเซียมในรูปเกลือคาร์บอเนต ซึ่งให้แคลเซียมได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 40 ดังนั้นในผู้สูงอายุ จะต้องรับประทานผลิตภัณฑ์ยาแคลเซียมคาร์บอเนตวันละ 2,000 มิลลิกรัม จึงจะได้แคลเซียม 800 มิลลิกรัมตามความต้องการ หรือในผู้หญิงตั้งครรภ์ จะต้องรับประทานผลิตภัณฑ์ยาแคลเซียมคาร์บอเนตวันละ 2,500 มิลลิกรัม จึงจะได้แคลเซียม 1000 มิลลิกรัมตามความต้องการ นอกจากรูปเกลือที่ต่างกันแล้ว ผลิตภัณฑ์ยาเม็ดแคลเซียมยังมีหลายรูปแบบ คือ ยาเม็ดแข็ง ยาเม็ดฟู่ และยาแคปซูล หากต้องการรับประทานยาเม็ดแคลเซียมควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

    เอกสารอ้างอิง

    1. Calcium [Internet]. Baltimore: University of Maryland Medical Center (UMMC); 2013. Available from: http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/calcium. Accessed 2014 May 23.
    2. Calcium dietary supplement fact sheet [Internet]. Bethesda: National institutes of health (NIH); 2013. Available from: http://ods.od.nih.gov/factsheets/CalciumHealthProfessional/. Accessed 2014 May 23.
    3. Standing committee on the scientific evaluation of dietary reference intakes, food and nutrition board, Institute of medicine. Dietary reference intakes for calcium, phosphorus, magnesium, vitamin D and fluoride [Internet]. Washington, DC: National Academy Press; 1997. Available from:  http://books.nap.edu/openbook.php?record_id=5776&page=90. Accessed 2014 May 25.
    4. แนวทางเวชปฏิบัติเรื่อง โรคกระดูกพรุน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2548. ที่มา: http://www.dms.moph.go.th/imrta/images/pdf_cpg/2548/15.pdf. วันที่อ้างถึง 23 พ.ค. 2557.
    5. บุษบา จินดาวิจักษณ์. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน: ยารักษาโรคกระดูกพรุน ใช้อย่างไร [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553. ที่มา:https://pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=30 วันที่อ้างถึง 25 พ.ค. 2557.
Others articles

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.