Knowledge Article


รู้ให้ชัดกับ ยาแก้อักเสบ


อาจารย์ เภสัชกร ธีรัตถ์ เหลืองมั่นคง
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
500,727 View,
Since 2013-01-27
Last active: 1h ago
https://tinyurl.com/yjdy4upw
Scan to read on mobile device
 
A - | A +
อักเสบ มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า Inflammation ซี่งเป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการปวด บวม แดงและรู้สึกร้อน ณ บริเวณที่มีการอักเสบเกิดขึ้น ภาวะอักเสบที่รู้จักกันดี ได้แก่ ข้ออักเสบ เอ็นอักเสบกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งอาการอักเสบที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุในการทำงานหรือเล่นกีฬา การใช้ยาเพื่อลดการอักเสบ ต้องใช้ยากลุ่มที่เรียกว่า “ยาแก้อักเสบ”หรือ “ANTI-INFLAMMATORY DRUG” หรือ“NSAIDs” (เอ็น-เซด ย่อมาจากคำว่า Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs) โดยยาแก้อักเสบนี้ ยังนิยมใช้ลดอาการปวดที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ปวดหัว ปวดประจำเดือน ปวดฟัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รวมทั้งยังอาจใช้ลดไข้อีกด้วย ทำให้มียาประเภทนี้จำหน่ายและใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ทั้งที่เป็นยากิน ยาฉีด ยาใช้ภายนอกทั้งในรูปเจลหรือสเปรย์ โดยยาแต่ละตัวจะมีข้อบ่งใช้และวิธีการใช้ยาแตกต่างกันไป



สิ่งที่ควรคำนึงเสมอในการใช้ยากลุ่มนี้ คือ

  1. “ยาแก้อักเสบ” มักระคายเคืองทางเดินอาหาร ควรรับประทานยาหลังอาหารทันทีและดื่มน้ำตามมากๆ
  2. “ยาแก้อักเสบ” มักใช้เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น เมื่อหายจากอาการอักเสบและอาการปวดให้หยุดยาทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดที่เป็นยากิน เนื่องจากการใช้ยานานๆ นอกจากระคายเคืองทางเดินอาหารแล้ว อาจทำให้การหยุดไหลของเลือดผิดปกติ ความดันโลหิตสูง บวมน้ำและเกิดภาวะไตวายได้(ระยะเวลาในการใช้ยา ขึ้นกับข้อบ่งใช้และสภาวะโรคที่เป็น จากคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร)


“ยาแก้อักเสบ” ซึ่งมีใช้ในประเทศไทย ได้แก่



เนื่องจากยากลุ่มนี้สามารถหาซื้อได้ที่ร้านยาทั่วไป ทำให้หลายคนเข้าใจผิดและไปที่ร้านยาเพื่อขอซื้อยาแก้อักเสบมาใช้สำหรับอาการเจ็บคอซึ่งมีสาเหตุจากการติดเชื้อ โดยที่ไม่ทราบว่าแท้จริงแล้ว โรคติดเชื้อต้องรักษาด้วย “ยาฆ่าเชื้อ” หรือ “ANTI-BIOTIC” ซึ่งมีผลช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อนั้น ทำให้นอกจากยาจะไม่ช่วยให้อาการเจ็บคอหายเร็วขึ้นแล้ว ยังอาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาแก้อักเสบอีกด้วย ดังนั้น ก่อนซื้อยามาใช้ทุกครั้ง ควรแจ้งถึงสาเหตุที่ต้องใช้ยากับเภสัชกรให้ชัดเจนก่อนเสมอ

เอกสารอ้างอิง

  1. MIMS Thailand. 124th ed. Bangkok: UBM Medica; 2011.
Others articles

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.