หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

sucrafate suspension 60 ml กับ sucrafate gel 5 ml มีประสิทธิภาพเเตกต่างกันอย่างไรครับ

ถามโดย sucrafate เผยแพร่ตั้งแต่ 15/06/2013-20:43:37 -- 6,162 views
 

คำตอบ

มีการศึกษาความถึงความแตกต่างของ sucralfate gel และ sucralfate suspension เพื่อเปรียบเทียบการกระจายตัวของยาในทางเดินอาหารส่วนบน โดยเป็นการศึกษาแบบควบคุมในผู้ป่วยจำนวน 25 ราย ให้ยาแบบ equivalent dose และยาจะถูก label ด้วย 111 MBq 99mTc-DTPA (เป็นสารรังสีที่ใช้ในการติดตามการเคลื่อนที่ของยา) ผลการศึกษาพบว่าค่าครึ่งชีวิต (half-life) ของยามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยค่า half-life ของยา sucralfate gel เป็น 61.6 นาที และ sucralfate suspension เป็น 33.8 นาที และหลังจากได้รับยา 2 และ 3 ชั่วโมง % residual activity ที่ gastric area ในผู้ป่วยที่ได้รับยา sucralfate gel จะสูงกว่า ดังนั้นแล้วผลทางด้าน pharmacokinetic พบว่า sucralfate gel จะออกฤทธิ์อยู่ในกระเพาะได้นานกว่า suspension (1) มีการศึกษาทางคลินิกเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยา sucralfate gel และ suspension ในการรักษาภาวะ symptomatic chronic gastritis การศึกษาเป็นแบบ multicenter randomized control trial ในผู้ป่วย chronic gastritis จำนวน 368 ราย โดยผู้ป่วยได้รับการสุ่มแบ่งกลุ่ม ให้ได้รับยา sucralfate suspension 1 g QID และ sucralfate gel 1 BID ติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ จากผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีความเท่าเทียมกันในการลดอาการ(symptom relief) นอกจากนี้ผล endoscopic, histological healing และ improvement of lesion ไม่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม ดังนั้นแล้ว sucralfate gel และ suspension มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกันในการรักษาภาวะ chronic gastritis และ sucralfate gel อาจช่วยเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย (complicance) เนื่องจากบริหารยาเพียงวันละสองครั้ง (BID) (2) Key words: sucralfate, suspension, gel, efficacy, ประสิทธิภาพ

Reference:
1. Vaira D et al. Gastric retention of sucralfate gel and suspension in upper gastrointestinal diseases[abstract]. Alliment Pharmacol Ther. 1993; 7(5): 531-5
2. Guslandi M, Ferrero S, Fusillo M. Sucralfate gel for symptomatic chronic gastritis: multicentre comparative trial versus sucralfate suspension [abstract]. Ital J Gastroenterol 1994; 26(9): 442-5.

Keywords:
-





ทางเดินอาหาร

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้