หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ยา propylthiouracil ใช้ในคนไข้ท้องไตรมาสที่ 2,3 ได้หรือไม่ ถ้าใช้มีผลอย่างไรต่อทารกในครรภ์

ถามโดย เภสัชกรน้อย เผยแพร่ตั้งแต่ 21/09/2011-18:17:51 -- 28,264 views
 

คำตอบ

ยา propylthiouracil (PTU) ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม pregnancy category D ตามการแบ่งกลุ่มความปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์ของ FDA โดยจะใช้ก็ต่อเมื่อมีการพิจารณาแล้วว่ามีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ ได้แก่ การใช้ยาเพื่อรักษาชีวิต หรือรักษาโรคที่รุนแรงซึ่งไม่สามารถใช้ยาที่ปลอดภัยกว่าได้ ยา PTU สามารถผ่านรกไปสู่ทารกในครรภ์ได้ โดยสามารถทำให้เกิด goiter และ hypothyroidism ระหว่างการพัฒนาและเจริญเติบโตของตัวอ่อน (fetus) โดยเฉพาะเมื่อยา PTU ถูกนำมาใช้จนกระทั่งคลอด พบว่ามีรายงานการเกิดภาวะ hypothyroidism หรือ goiter ในเด็กแรกเกิด ซึ่งอาจพิจารณาลดขนาดยาหรือหยุดยาในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามการใช้ยา PTU ในช่วงไตรมาสแรกไม่พบอุบัติการณ์ในการเกิด goiter หรือ hypothyroidism ในเด็กแรกเกิด เนื่องจากการสร้าง thyroid hormone ยังไม่เริ่มสร้างจนกว่าจะถึงสัปดาห์ที่ 11 หรือ 12 ของการตั้งครรภ์ และ FDA กล่าวว่าการเกิด congenital malformations ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็น craniofacial malformations (aplasia cutis, facial dysmorphism, choanal atresia) จะสัมพันธ์กับการใช้ยา methimazole ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ซึ่งไม่พบความสัมพันธ์นี้จากการใช้ยา PTU นอกจากนี้ยังพบรายงาน 2 ฉบับ ในการเกิดตับวาย (liver failure) และเสียชีวิตของทารกแรกเกิดจากการใช้ยา PTU ระหว่างตั้งครรภ์ โดยสรุปแล้วการใช้ยา PTU ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ถ้ามีความจำเป็นสามารถใช้ได้ แต่ช่วงใกล้คลอดถ้าเป็นไปได้ควรพิจารณาหยุดยา ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด goiter หรือ hypothyroidism ในเด็กแรกเกิด อย่างไรก็ตามยา PTU ยังถือว่าเป็น drug of choice และควรใช้ยาในขนาดที่น้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถควบคุมภาวะ hyperthyroidism ได้

Reference:
1. Briggs GG, Freeman RK. A refference guide to fetal and neonatal risk: Drug in pregnancy and lactation. 8th edition: Lippincott Williams & Wilkins, 2008: 1550-52.
2. http://www.drugs.com/pregnancy/propylthiouracil.html
3. McEvoy GK, ed. AHFS Drug Information 2011. Bethesda MD: American Society of Health-System
Pharmacist, 2011:3289-91.

Keywords:
-





ฮอร์โมน

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้