หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ถามเรื่อง vitamin E ครับ ว่าระหว่าง dl-alpha tocopherol และ d-alpha tocopherol รูปแบบใดคือรูปแบบธรรมชาติ และรูปแบบใดคือสังเคราะห์ และรูปแบบไหนให้ฤทธิ์ในการรักษาดีกว่ากัน

ถามโดย เจมส์ เผยแพร่ตั้งแต่ 22/12/2009-14:45:33 -- 19,744 views
 

คำตอบ

Vitamin E (tocopherol) เป็นวิตามินชนิดที่ละลายในไขมัน ที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ รูปแบบโดยทั่วไปของวิตามิน E ที่พบในพืช มนุษย์ สัตว์ตามธรรมชาติ มีทั้งหมด 8 รูปแบบ ได้แก่ α- tocopherols , β- tocopherols , γ- tocopherols และ δ-tocopherols α- tocotrienols, β- tocotrienols, γ- tocotrienols และ δ-tocotrienols โดยรูปแบบที่มี biological acitivity สูงที่สุด คือ alpha-tocopherol ซึ่งมีstereoisomer เพียงแบบเดียว คือ RRR (d-alpha-tocopherol) แต่ vitamin E ที่ได้จากการสังเคราะห์นั้นจะประกอบด้วย steroisomer 8 แบบ คือ RRR, SRR, RRS,RSS, RSR, SSR, RSS และ SSS รวมอยู่ด้วยกัน เรียกว่า all-rac-tocopherol (ซึ่งก่อนหน้านี้เคยถูกเรียกว่า dl-alpha-tocopherol) ดังนั้น vitamin E ตามธรรมชาติในรูป d-alpha-tocopherol อย่างเดียวจึงน่าจะมี potency มากกว่า vitamin E ที่ได้จากการสังเคราะห์ เมื่อได้รับในปริมาณที่เท่าๆกัน

Reference:
1. Zingg JM. Vitamin E:An overview of major research directions. Molecular Aspects of Medicine 2007;28:400–422.
2. Blatt DH, Pryor WA, Mata JE, Proteau RR. Re-evaluation of the relative potency of synthetic and natural α -tocopherol: experimental and clinical observations. J Nutr Biochem 2004;15:380-95.
3. Dersjant-Li Y, Peisker M. Utilization of stereoisomers from alpha-tocopherol in livestock animals. J Anim Physiol Anim Nutr (Berl). 2009 Aug 3. [Epub ahead of print](Abstract)
4. Hoppe PP, Krennrich G. Bioavailability and potency of natural source and all-racemic α -tocopherol in the human: a dispute. Eur J Nutr 2000; 39 : 183–93.
5. Moss GP. Nomenclature of Tocopherols and Related Compounds [Online]. [cited 2009 Dec 24]. Available from: URL: http://www.chem.qmul.ac.uk/iupac/misc/toc.html.

Keywords:
-





วิตามินและอาหารเสริม

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้