หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ป่วย CHF ล่าสุด Cr 4.1 mg/dl อยากทราบว่าจะใช้ ASA เพื่อป้องกันโรคหัวใจได้หรือไม่คะ เนื่องจากผู้ป่วยเป็น IHD ด้วยค่ะ

ถามโดย BB เผยแพร่ตั้งแต่ 29/09/2009-07:51:35 -- 7,002 views
 

คำตอบ

ตอบคำถาม เกี่ยวกับการใช้ Aspirin สำหรับเป็น secondary prevention ในผู้ป่วย congestive heart failure (CHF) ที่มีประวัติโรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease; IHD) Aspirin จัดเป็นยาในกลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ที่มีฤทธิ์ในการต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด (anti-platelet aggregation) ทำให้มีการนำ aspirin มาใช้ในการป้องกันและรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดหลายชนิดรวมไปถึง primary และ secondary prevention ของ vascular events ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็น IHD สำหรับในผู้ป่วยรายนี้ มีปัจจัยที่ต้องพิจารณาอยู่ 2 ประเด็น ได้แก่ การใช้ยา aspirin ในผู้ป่วย CHF และ การใช้ยา aspirin ในผู้ป่วยที่ไตทำงานบกพร่อง ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ การใช้ยา aspirin ในผู้ป่วย CHF ในทางทฤษฎี ยา aspirin อาจมีความสามารถในการรบกวนการออกฤทธิ์ของยา ACEI ซึ่งเป็นยาหลักในการรักษาโรค chronic heart failure ผ่านการยับยั้งการสร้าง prostaglandins และมีการศึกษาวิจัยที่แสดงให้เห็นผลลบทาง hemodynamic และความสามารถในการออกกำลังกายของผู้ป่วย chronic heart failure ได้ นอกจากนั้น มีงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลการใช้ aspirin ในผู้ป่วย chronic heart failure จำนวนหนึ่งที่บ่งชี้ว่า การใช้ยา aspirin อาจผลทำให้ประสิทธิภาพในการลดอัตราการเสียชีวิตหรือการเจ็บป่วยของยากลุ่ม ACEI ในผู้ป่วย heart failure ลดลง อย่างไรก็ตาม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ (systematic review) ของงานวิจัย randomized controlled trials ขนาดใหญ่หลายงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยโรค heart failure ที่ได้รับยา aspirin ก็ยังได้รับประโยชน์จากยา ACEI ได้ที่ใกล้เคียงกันกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยา aspirin ร่วมด้วย ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า ข้อมูลจากการศึกษายังมีความขัดแย้งกันอยู่ อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยมีข้อบ่งใช้ยา aspirin ชัดเจน ประโยชน์ที่ได้รับน่าจะมีมากกว่าความเสี่ยง การใช้ยา aspirin ในผู้ป่วยที่ไตทำงานบกพร่อง Aspirin อาจมีผลทำให้การทำงานของไตในผู้ป่วยที่ไตทำงานบกพร่องแย่ลงได้ อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาวิจัยชนิดที่เป็น post-hoc analysis ของงานวิจัยชนิด randomized, controlled trials ที่บ่งชี้ให้เห็นว่า การใช้ยา aspirin ป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายก็ให้ประโยชน์ที่ชัดเจนในกลุ่มผู้ป่วยมีการทำงานของไตบกพร่อง สรุปแนวคิดและการปฏิบัติ ผู้ป่วยรายนี้ควรได้รับยาต้านเกล็ดเลือด (antiplatelets) จากโรค IHD อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยมีโรคร่วมหลายโรคที่อาจทำให้ไวต่ออาการข้างเคียงต่อไตและระบบไหลเวียนโลหิตจากการใช้ยา aspirin เช่นกัน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มของประโยชน์อาจมากกว่าความเสี่ยง ดังนั้นอาจพิจารณาใช้ยา aspirin ได้แต่ต้องทำอย่างระมัดระวังและมีการติดตามดูแลที่ใกล้ชนิด ในขณะเดียวกัน อีกทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้คือ การใช้ antiplatelet ชนิดอื่นทดแทน เช่น clopidogrel สำหรับ secondary prevention เป็นต้น แต่ก็จะมีข้อจำกัดในเรื่องของค่าใช้จ่ายด้านราคายาที่ต้องพิจารณาต่อไป

Reference:
1. American College of Cardiology Foundation/American Heart Association Task Force on Practice Guidelines. 2009 Focused Update Incorporated Into the ACC/AHA 2005 Guidelines for the Diagnosis and Management of Heart Failure in Adults. J Am Coll Cardiol. 2009;539(5):e1-e90.
2. Lacy CF, Armstrong LL, Goldman MP, Lance LL. Drug information handbook with international trade names index. USA: Lexi-comp; 2009.

Keywords:
-





หัวใจและหลอดเลือด

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้