หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ยาระบายที่เหมาะกับผู้ป่วยไตวาย มากที่สุด ควรเลือกใช้ยาอะไรครับ

ถามโดย มานิตย์ เผยแพร่ตั้งแต่ 13/03/2009-11:06:54 -- 73,673 views
 

คำตอบ

คำตอบ: ยาระบายแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆต่อไปนี้ 1. เพิ่มปริมาณอุจจาระ (bulk-producing agents) ได้แก่ psyllium, metamucil, methyllcellulose 2. ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม (Stool softeners) ได้แก่ docusate sodium 3. ประเภทหล่อลื่น (lubricant/emollient) ได้แก่ mineral oil 4. ประเภทเพิ่มปริมาตรน้ำ (osmotic agents) ได้แก่ magnesium, lactulose sorbitol, polyethylene glycol, sodium phosphate 5. ประเภทกระตุ้น (stimulants) ได้แก่ bisacodyl, castor oil, cascara sennosides - ยาระบายประเภท bulk-producing agents สามารถใช้ได้ผู้ป่วยโรคไตแต่มีข้อควรระวังคือปริมาณน้ำที่จะต้องให้ในผู้ป่วยที่รับประทานผลิตภัณฑ์ประเภทนี้และผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องลำไส้อุดตัน - ยาระบายประเภท mineral oil ในรูป emulsified เมื่อให้ทางปากมี bioavailability ร้อยละ 30-60 แต่ไม่มีรายงานการเกิดพิษในผู้ป่วยโรคไต พบแต่ข้อมูลว่าควรระวังเรื่องการเกิด lipid pneumonia และการรบกวนการดูดซึมวิตามิน A, D, E, K - ยาระบายประเภท osmotic agents • ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาระบายที่มีส่วนประกอบของ phosphorus เช่น sodium phosphate เพราะอาจทำให้เกิดภาวะ hyperphosphatemia ได้ รวมถึงยาที่มีส่วนประกอบของ sodium เช่นกัน • ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาระบายที่มีส่วนประกอบของ magnesium เช่น milk of magnesia เพราะอาจทำให้เกิดภาวะ hypermagnesemia ได้ • สาร lactulose เองไม่ค่อยดูดซึมในทางเดินอาหารแต่สามารถเกิด metabolism ได้ภายในลำไส้ใหญ่ซึ่งเป็นตำแหน่งออกฤทธิ์ของยาซึ่งสามารถลดการดูดซึมแอมโมเนียเข้าสู่กระแสเลือดได้ แต่ยานี้ก็มีการขับออกผ่าน urine ร้อยละ 3 นอกจากนี้ยังพบรายงานการเกิดภาวะ hypernatremia ได้จากการใช้ lactulose - ยาระบายประเภท stimulants เช่นมะขามแขก sennokot เมื่อ metabolism จะได้สารประเภท anthraquinones ซึ่งจะถูกขับออกได้ทางไตดังนั้นผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องจึงไม่ควรใช้ ส่วน bisacodyl ยานี้ขับออกทางตับเป็นหลักแต่ก็ขับออกทางไตด้วยเล็กน้อย ดังนั้นการใช้ยาระบายในผู้ป่วยโรคไตให้ปลอดภัยอาจพิจารณาให้พวก bulk-producing agents แต่ต้องระมัดระวังเรื่องปริมาตรที่ผู้ป่วยจะได้รับรวมถึงภาวะลำไส้ของผู้ป่วยด้วย

Reference:
1. Dis Colon Rectum 2001;44:1201-9
2. http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=10140&gid=1
3. www.thomsonhc.com
4. http://th.wikipedia.org

Keywords:
-





ทางเดินปัสสาวะ

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้