Vasopressin ยืดชีวิตผู้ป่วย asystole ระหว่าง CPR
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน มกราคม ปี 2457 -- อ่านแล้ว 11,586 ครั้ง
Vasopressin สามารถยืดชีวิตผู้ป่วยที่มีหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) แบบหัวใจไม่บีบตัว (asystole) ในระหว่างการทำ cardiopulmonary resuscitation (CPR)
แม้ว่าในการช่วยชีวิตผู้ป่วยด้วยการนวดหัวใจผายปอดหรือ CPR นั้นโดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ epinephrine เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดในร่างกาย แต่มักพบ ventricular arrhythmia, myocardial dysfunction และ oxygen consumption ที่เพิ่มขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจร่วมด้วยภายหลังการทำ CPR ระดับ vasopressin ในเลือดที่สูงจากผู้ป่วยซึ่งรอดชีวิตจากทำ CPR และการศึกษาที่สนับสนุน vasopressin นั้นช่วยให้ผู้ป่วยมี short term survival ได้มากกว่าการใช้ epinephrine vasopressin จึงอาจเป็น alternative therapy ที่รองจาก epinephrine ในระหว่าง CPR ได้
Volker Wenzel และคณะได้ทำการศึกษาแบบ double-blinded, randomized controlled trial ซึ่งเป็น multicenter study ระหว่าง 3 ประเทศได้แก่ ออสเตรีย, เยอรมัน และ สวิตเซอร์แลนด์ ในผู้ป่วย 1,219 รายที่มี cardiac arrest ก่อนมาโรงพยาบาลโดยให้ยาฉีด 2 ครั้ง เป็น vasopressin 40 IU หรือ epinephrine 1 mg และอาจให้ epinephrine เป็นการรักษาเสริมหากอาการผู้ป่วยยังไม่ดีขึ้น
ในช่วงเริ่มต้นมีผู้ป่วยถูกคัดออกเนื่องมาจากความผิดพลาดใน study-drug code ของการศึกษา 33 ราย ผู้ป่วยที่เหลือรับ vasopressin (n=589) และ epinephrine (n=596) เมื่อทำการเปรียบเทียบระหว่างทั้งสองกลุ่มพบว่าไม่มีความแตกต่างกันใน hospital admission rate (primary end point) ทั้งในผู้ป่วย cardiac arrest ที่มี ventricular fibrillation (P=0.48) หรือ pulseless electrical activity (P=0.65) ร่วมด้วย ขณะที่ hospital admission rate ในผู้ป่วยที่มี asystole ร่วมด้วยกลับสูงกว่าในกลุ่ม vasopressin (P=0.02) รวมทั้งมี hospital discharge rate ซี่งเป็น secondary end point สูงกว่า (P=0.04) ด้วยเช่นกัน
สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาเสริมด้วย epinephrine เนื่องมาจากอาการไม่ดีขึ้นอีก 732 ราย นั้นพบว่าในกลุ่มที่ได้รับ vasopressin มาก่อนมี outcome ที่ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับ epinephrine มาก่อนทั้ง hospital admission rate (P=0.002) และ hospital discharge rate (P=0.002) ขณะที่ไม่มีความแตกต่างกันใน cerebral performance