หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การศึกษาแบบอภิวิเคราะห์เปรียบเทียบการใช้ระหว่างอินซูลินชนิดออกฤทธิ์ยาวและ NPH ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน มีนาคม ปี 2552 -- อ่านแล้ว 2,628 ครั้ง
 
การให้ basal insulin ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 อาจให้ได้ทั้ง NPH (Neutral Protamine Hagedorn) หรืออินซูลินชนิดออกฤทธิ์ยาว โดยจุดประสงค์ของการทำอภิวิเคราะห์เพื่อประเมินความแตกต่างของความสามารถในการลดระดับ HbA1c (glycated hemoglobin) อุบัติการณ์ในการเกิดระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ และการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว ระหว่างผู้ที่ได้รับ NPH เทียบกับผู้ที่ได้รับ อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ยาวแต่ละตัวได้แก่ detemir หรือ glargine โดยในการศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาที่เป็นแบบ randomized-controlled trial จำนวน 20 การศึกษา พบว่าอินซูลินชนิดออกฤทธิ์ยาวให้ผลเล็กน้อยแต่มีนัยสำคัญในการลดระดับ HbA1c [-0.07 (-0.03; -0.01%); p=0.0026] ในการเปรียบเทียบกับ NPH แต่เมื่อวิเคราะห์การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวพบว่า detemir มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ NPH [0.26 (0.06;0.47) kg/m2; p=0.012] และผู้ที่ได้รับอินซูลินชนิดออกฤทธิ์ยาวยังมีอุบัติการณ์ในการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำตอนกลางคืน (nocturnal hypoglycemia) และอุบัติการณ์ในการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่รุนแรงต่ำกว่าอีกด้วย [OR (odd ratio, 95% CI) 0.69 (0.55; 0.86) และ OR 0.73 (0.60; 0.80) ตามลำดับ p<0.01]
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.5 น้ำตาลตกจากยาเบาหวาน (Hypoglycemia from anti-diabetics)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้