หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

FDA ต้องการให้มีคำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายจากการใช้ยากันชัก

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน ธันวาคม ปี 2551 -- อ่านแล้ว 2,765 ครั้ง
 
ยากันชักนอกจากจะใช้ในการรักษาอาการชักแล้วยังมีการนำไปใช้ในการรักษาไมเกรน, อาการทางจิตเวชและบรรเทาอาการปวดปลายประสาทอีกด้วย จากการตรวจสอบข้อมูลการศึกษาทดลองทางคลินิกของยากันชัก 11 ชนิดพบว่าผู้ป่วยที่ใช้ยากันชักมีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยากันชักถึงสองเท่า โดยผู้ป่วยที่ได้รับยากันชักพบความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย 0.43% ผู้ป่วยที่ไม่ได้ยากันชักพบความเสี่ยงเพียง 0.24 % หรืออาจพบผู้ป่วยที่มีความคิดหรือมีพฤติกรรมที่จะฆ่าตัวตาย 1 คนต่อผู้ป่วย 500 คนที่มีการใช้ยากันชัก สำหรับข้อมูลจากการศึกษาทดลองทางคลินิกของการใช้ยากันชักทางด้านจิตเวช พบว่าผู้ป่วยที่มีการใช้ยากันชักจะมีความคิดหรือมีพฤติกรรมที่จะฆ่าตัวตายสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยากันชักโดยมีความเสี่ยงในการเกิดสูงในช่วงสัปดาห์แรกของการเริ่มใช้ยากันชัก ดังนั้น FDA จึงต้องการให้มีคำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดการฆ่าตัวตายในฉลากยา โดยยากันชักเหล่านี้ได้แก่ carbamazepine, clonazepam, clorazepate, divalproex sodium, ethosuximide, ethotoin, felbamate, gabapentin, lamotrigine, lacosamide, levetiracetam, mephenytoin, methosuximide, oxcarbazepine, phenytoin, pregabalin, primidone, tiagabine, topiramate, trimethadione และ zonisamide



 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้