หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและตัวชี้วัดในการเกิดความเสี่ยงต่อโรคในระบบหัวใจและหลอดเลือด ในการใช

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน พฤศจิกายน ปี 2551 -- อ่านแล้ว 2,633 ครั้ง
 
ผู้ที่มีภาวะเบาหวานชนิดที่ 2 มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในระบบหัวใจและหลอดเลือด และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ได้แก่ น้ำตาลในเลือดต่ำ น้ำหนักเพิ่ม และในการรักษาภาวะเบาหวานนี้เริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ได้แก่ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย แต่หากยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้จึงมีความจำเป็นต้องใช้ยา พบว่ายารักษาเบาหวานชนิดรับประทานมีหลายชนิด โดยยาตัวแรกที่แนะนำให้ใช้ได้แก่ metformin เนื่องจากไม่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม และมีผลดีที่เกี่ยวกับอัตราการเสียชีวิตและความเสี่ยงในการเกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือดด้วย แต่หากยังมีการดำเนินโรคต่อไป ผู้ป่วยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้อินซูลิน และในหลายปีที่ผ่านมานี้มีการพัฒนาอินซูลินหลายชนิด ทั้งชนิดออกฤทธิ์สั้น ออกฤทธิ์ยา และแบบผสม และแบบแผนการรักษาในปัจจุบัน จะแนะนำให้ใช้ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทานร่วมกับอินซูลินเนื่องจากทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยอยู่ในระดับที่ต้องการได้โดยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำลดลง สะดวก และในอินซูลินบางชนิดยังไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่มเหมือนกับอินซูลินชนิดก่อนหน้านี้ด้วย ดังนั้น ปัจจัยเหล่านี้จึงมีผลดีต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคในระบบหัวใจและหลอดเลือด
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.2 เกลือแร่สำหรับท้องเสีย ORS (Oral Rehydration Salts)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้