หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Long term pharmacotherapy for obesity and overweight:updated meta-analysis

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน ธันวาคม ปี 2550 -- อ่านแล้ว 1,964 ครั้ง
 
Long term pharmacotherapy for obesity and overweight:updated meta-analysis

Diana Ruckerและคณะได้ทำการรวบรวมการศึกษาระยะยาวเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาลดความอ้วน (anti-obesity drugs)) ประกอบด้วย orlistate,sibutamine และ rimonabant จากฐานข้อมูล Medline, Embase,the Cochrane controlled trials register, the Current Science meta-register of controlled trials ตั้งแต่ธันวาคม 2002ถึงธันวาคม 2006 โดยคัดเลือกการศึกษาชนิด Double-blind randomized placebo controlled trials เปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มที่ได้รับยา orlistate,sibutamine หรือ rimonabant กับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก(placebo) เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปร่วมกับการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย มีการศึกษาที่ได้เข้าเกณฑ์การคัดเลือกทั้งสิ้น 30 การศึกษา แบ่งป็น 16 การศึกษาที่ทำการศึกษายา orlistateกับเปรียบเทียบยาหลอก ขนาด 120 mg วันละ 3 ครั้ง 10 การศึกษาที่ทำการศึกษา sibutamine 15 mg วันละครั้งเปรียบเทียบกับยาหลอก และ 4 การศึกษาที่ทำการศึกษายา rimonabant 20 mg วันละ 1 ครั้งเปรียบเทียบกับยาหลอก เพื่อดูผลของการลดลงของน้ำหนักตัวและผลต่อความเสี่ยงต่อโรคทางหลอดเลือด(cardiovascular risk) และ adverse effects ของยาแต่ละชนิด โดยผู้ที่เข้าร่วมการศึกษา มีอายุ มากกว่า 18 ปี อายุเฉลี่ย 45-50ปี น้ำหนักตัวเฉลี่ย 100 กิโลกรัม Body mass index 35-36 สำหรับผู้ที่อ้วนจากภาวะผิดปกติทางระบบ endocrine, ผู้ป่วย uncontrolled hypertension, ผู้ที่ได้รับยาอื่นๆที่มีผลต่อน้ำหนักตัว, หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร, รวมทั้ง ผู้ป่วยโรคจิตเวช ไม่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมการทดลอง ผลการรวบรวมการทดลองสรุปได้ว่า ในกลุ่มที่ได้รับ orlistate มีน้ำหนักตัวลดลงเฉลี่ย 2.9

กิโลกรัมเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก นอกจากนี้ในการศึกษาที่มีระยะเวลา 4 ปียังพบว่าลดอุบัติการณ์การเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 6.2-9.0%( Hazard ratio 0.63:95%CI 0.46-0.86) นอกจากนี้ยังพบว่า มีการลดลงของเส้นรอบเอว (waist circumference),Body mass index(BMI), Systolic blood pressure(SBP), Diastolic blood pressure(DBP), fasting glucose และ HbA 1c . รวมทั้งมีการลดลงของTotal cholesterol, LDLแต่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงระดับ triglyceride (TG). สำหรับ Adverse effect ที่พบคือ fatty/oily stool, faecal urgency, oily spotting. แต่ไม่พบภาวะ fat soluble vitamin deficiency เนื่องจากผู้ป่วยจะได้ multivitamin supplementation.ในกลุ่มที่ได้รับ sibutamineเทียบกับยาหลอกพบว่า มีน้ำหนักลดลง 4.2 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังมีการลดลงของเส้นรอบเอว (waist circumference),BMI,TG แต่มีผลเพิ่ม HDL. สำหรับ Adverse effect ที่พบคือ มีการเพิ่มขึ้นของ SBP 1.7 mmHg, DBP 2.4 mmHg และ pulse rate 4.5 ครั้ง/นาที นอกจากนี้ยังภาวะ insomnia, nausea, dry mouth และ constipation. ในกลุ่มที่ได้รับยา Rimonabant เทียบกับยาหลอก มีน้ำหนักลดลง 4.7 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังมีผลลดลดลงของเส้นรอบเอว (waist circumference), SBP, DBP, และ TG. มีผลเพิ่ม HDL. มีการศึกษาในผู้ป่วย obesity-diabetes พบว่ากลุ่มที่ได้รับ rimonabant มีการลดลงของน้ำหนักตัว 3.9 กิโลกรัม รวมทั้งมี fasting glucose และ HbA1c ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับ Adverse effect ที่พบคือ เพิ่ม incidence of psychiatric disorder เช่นภาวะ depression, anxiety,และ aggression

โดยสรุปใน Meta-analysis พบว่ายา orlistate, sibutamine และ rimonabant มีผลลดน้ำหนักตัวเฉลี่ย 5 กิโลกรัม เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก ซึ่งยาแต่ละชนิดจะมีผลในการลด cardiovascular risk profiles และเกิด Adverse effect ที่ต่างกัน

 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้