หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ประสิทธิผลของ sumatriptan ขนาด 4 มิลลิกรัมชนิดฉีดเข้ากล้ามในผู้ป่วยไมเกรน

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน สิงหาคม ปี 2549 -- อ่านแล้ว 4,985 ครั้ง
 
ยากลุ่ม triptan ใช้บรรเทาอาการปวดศีรษะในผู้ป่วยไมเกรน ในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, ยาเม็ดรับประทานชนิดกลืน, ยาเม็ดรับประทานชนิดละลายน้ำ, ยาพ่นจมูก และ ยาเหน็บ และมีเพียง sumatriptan ที่อยู่ในรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ จึงมีการศึกษาแบบ randomized, double-blind, placebo-controlled trial ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 1988 ถึงเมษายน 1989 ในผู้ป่วยอายุ 18-60 ปีที่เป็นไมเกรนทั้งแบบมีและไม่มีอาการนำ จำนวน 577 คน เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความทนต่อ sumatriptan เมื่อให้เพียงครั้งเดียว สุ่มผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับยาหลอก 193 คนและกลุ่มที่ได้รับ sumatriptan ขนาด 4 มิลลิกรัมฉีดเข้ากล้ามเนื้อจำนวน 384 คน พบว่า หลังจากให้ยาแล้ว 120 นาที sumatriptan สามารถบรรเทาปวดได้ดีกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 70 และร้อยละ 22, p<0.001) และทำให้หายปวดได้ดีกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 50 และร้อยละ 11, p<0.001) เช่นกัน นอกจากนี้ sumatriptan บรรเทาปวดได้ดีกว่ายาหลอกในทุกช่วงที่ศึกษา (10, 20, 30 และ 60 นาทีหลังให้ยา) ในนาทีที่ 10 และ 20 sumatriptan ทำให้หายปวดได้ไม่แตกต่างกับยาหลอก แต่ในนาทีที่ 30 และ 60 sumatriptan ทำให้หายปวดได้ดีดว่ายาหลอก อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นบ่อย คือ ปฏิกิริยาการแพ้บริเวณที่ฉีด (ร้อยละ 43), อาการเหมือนถูกทิ่มหรือแมลงต่อย (ร้อยละ 12) , วิงเวียนหรือมึนศีรษะ (ร้อยละ 10) , อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ (ร้อยละ 8) และ คลื่นไส้และ/หรืออาเจียน (ร้อยละ 2)

Sumatriptan ขนาด 4 มิลลิกรัมชนิดฉีดเข้ากล้ามประสิทธิผลรักษาไมเกรนแบบเฉียบพลันได้ และผู้ป่วยมีความทนต่อยาดี

 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้