หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Rabeprazole มีผลเทียบเท่ากับ omeprazole ในการรักษาerosive gastro-oesphageal reflux disease

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน ตุลาคม ปี 2548 -- อ่านแล้ว 47,800 ครั้ง
 
Gastro-oesphageal reflux disease (GORD) เป็นอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร และเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ ทั้งยังเกิดได้กับคนทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เป้าหมายของการรักษาโรคนี้ คือ บรรเทาอาการและรักษาแผลในทางเดินอาหาร และป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรค ซึ่งยากลุ่ม proton pump inhibitors เป็นยาที่พบว่าให้ผลการรักษาดีที่สุดในขณะนี้

ในการศึกษาผลของยาในระยะเฉียบพลันแบบ double-blind, double-dummy fashion ในผู้ป่วยหลอดอาหารอักเสบและเยื่อเมือกถูกทำลาย เนื่องจากการไหลย้อนกลับของกรดที่มีความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับ I-III ตาม Savary-Miller Classification เปรียบเทียบประสิทธิผลของ rabeprazole 20 mg กับ omeprazole 20 mg เมื่อให้รับประทานยาวันละครั้งเป็นเวลา 4-8 สัปดาห์ พบว่า ใน 4 สัปดาห์แรกของการรักษาด้วย rabeprazole และ omeprazole แผลในทางเดินอาหารหายได้สมบูรณ์ถึง 91.0 และ 89.9% ตามลำดับ และเมื่อสิ้นสุดการรักษา rabeprazole และ omeprazole ช่วยทำให้แผลในทางเดินอาหารหายได้สมบูรณ์ถึง 97.9 และ 97.5% ตามลำดับ แต่ rabeprazole บรรเทาอาการ heartburn ได้เร็วกว่า omeprazole

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาผลของยาในระยะยาว แบบ open-label ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาในระยะเฉียบพลันข้างต้นแล้วมีอาการดีขึ้น โดยให้ผู้ป่วยรับประทาน rabeprazole ขนาดต่ำ คือ 10 mg วันละครั้งเป็นเวลา 48 สัปดาห์ ขนาดยาอาจเพิ่มเป็น 10 mg วันละ 2 ครั้งได้ในผู้ป่วยที่อาจมีการกลับเป็นซ้ำของโรค พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับ rabeprazole เป็นเวลานานๆ จะมีโอกาสกลับเป็นซ้ำของโรคนี้ 15.2% โดยพบว่า ถ้าประเมินจากการส่องกล้องการกลับเป็นซ้ำของโรคจะเกิดหลังจากได้รับการรักษาไปแล้วนาน 11.1 เดือน แต่ถ้าประเมินจากอาการแสดงของโรคทางคลินิก การกลับเป็นซ้ำของโรคจะเกิดหลังจากรับการรักษาไปแล้วนาน 7.7 เดือน อาการข้างเคียงในช่วง 8 สัปดาห์แรกของการรักษาด้วยยา พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับ omeprazole จะมีอาการปวดศีรษะได้มากกว่า rabeprazole ส่วนอาการข้างเคียงที่เกิดเมื่อใช้ยาในระยะยาวคือ เป็นไข้ ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะ อาหารไม่ย่อย เป็นต้น แต่เป็นอาการที่พบได้น้อย

 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.1 ยาคุมฉุกเฉิน Emergency contraceptive pills

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้