Nucleoside/nucleotide reverse transcriptase inhibitors…ความเสี่ยงต่อภาวะ lactic acidosis
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน มกราคม ปี 2559 -- อ่านแล้ว 5,085 ครั้ง
Nucleoside/nucleotide reverse transcriptase inhibitors (NRTIs) ใช้รักษาการติดเชื้อรีโทรไวรัส (retrovirus) นำมาใช้เป็นยาต้านเอชไอวี (anti-HIV/AIDS drugs) คำเตือนของยาในกลุ่ม NRTIs ที่เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ lactic acidosis มีมานานแล้ว การเกิดภาวะ lactic acidosis นั้นจะเกี่ยวข้องกับ NRTIs ทั้งกลุ่มหรือไม่? เมื่อไม่นานมานี้หน่วยงาน MHRA (the Medicines and Healthcare Products Regulatory Agency) ซึ่งเป็น executive agency ในสังกัดของ Department of Health ของสหราชอาณาจักร (UK) ได้ทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้และพบว่าเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ lactic acidosis ที่เนื่องจาก NRTIs มีได้แตกต่างกัน โดยมีความสัมพันธ์กับยาที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดพิษต่อไมโทคอนเดรีย (high risk of mitochondrial toxicity) เช่น zidovudine, stavudine และ didanosine (คล้ายกับเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันกระจายตัวผิดปกติ − ดูเรื่อง “Antiretrovirals…ปรับคำเตือนเกี่ยวกับ lipodystrophy” ใน “ข่าวยา” ประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน มกราคม ปี 2559) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวข้างต้นได้มีข้อแนะนำให้ตัดคำเตือนเกี่ยวกับเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ lactic acidosis ออกไปจากเอกสารข้อมูลผลิตภัณฑ์ (product information) ของยาต่างๆ ในกลุ่ม NRTIs จะคงไว้เฉพาะกับผลิตภัณฑ์ที่มี zidovudine, stavudine และ didanosine ทั้งยาเดี่ยวและยาสูตรผสม
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีเร็วๆ นี้มีรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วยรายหนึ่งเกิดภาวะ lactic acidosis ที่รุนแรงหลังจากได้รับ antiretroviral therapy ที่มี tenofovir (ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม NRTIs) ไปได้ 5 สัปดาห์ ผู้ป่วยรายนี้นอกจากติดเชื้อเอชไอวีแล้วยังติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (hepatitis C virus) พร้อมทั้งมีภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในเลือด (Escherichia coli bacteremia) แม้ที่ผ่านมาความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ lactic acidosis จาก tenofovir จะต่ำกว่า zidovudine และ stavudine แต่บุคลากรทางการแพทย์ไม่ควรมองข้ามและควรตระหนักถึงความเป็นไปได้ของการเกิดภาวะ lactic acidosis จาก tenofovir ด้วยรวมถึงการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยานี้กับยาอื่นที่ยิ่งส่งเสริมการเกิดภาวะดังกล่าว เพื่อว่าหากแพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะ lactic acidosis ได้เร็วจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ป่วย
อ้างอิงจาก:
(1) Antiretroviral medicines: updated advice on body-fat changes and lactic acidosis. Drug Safety Update, volume 9 issue 5, December 2015:4; (2) Hashim H, Sahari NS, Lim SMS, Hoo FK. Fatal tenofovir-associateacd lactic acidosis: a case report. Iran Red Crescent Med J 2015;17:e19546. doi: 10.5812/ircmj.19546; (3) Ortiz-Brizuela E, Pérez-Patrigeon S, Recillas-Gispert C, Gómez-Pérez FJ. Lactic acidosis complicating metformin and non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor combination therapy: a smoldering threat in the post-HAART era. Rev Invest Clin 2015;67:273-4.
คำค้นที่เกี่ยวข้อง:
nucleoside/nucleotide reverse transcriptase inhibitor
NRTI
anti-HIV/AIDS drug
lactic acidosis
MHRA
Medicines and Healthcare Products Regulatory Agency
executive agency
Department of Health
high risk of mitochondrial toxicity
zidovudine
stav