มีการศึกษามากมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการใช้ statins กับความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งซึ่งผลการศึกษามีแตกต่างกันไป อาจขึ้นกับชนิดของยาและชนิดของโรคมะเร็ง ตัวอย่างการศึกษาที่เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ เป็นศึกษาถึงผลของการใช้ statins ได้แก่ simvastatin, rosuvastatin, atorvastatin, fluvastatin, pitavastatin, pravastatin และ lovastatin กับความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง โดยได้ข้อมูลจาก 2 แห่ง แห่งแรกจาก database ของ US Food and Drug Administration (FDA) Adverse Event Reporting System (FAERS) ซึ่งเป็นการติดตามข้อมูลด้านความปลอดภัยของยาภายหลังการวางจำหน่าย (post-marketing safety surveillance program) เป็นแบบ spontaneous report ที่รับมาจากบุคลากรทางการแพทย์ บริษัทผู้ผลิต และผู้ใช้ยาทั่วโลก ราวช่วงปี 2004 ถึง 2012 และอีกแห่งหนึ่งได้จาก claims database ของ The Japan Medical Data Center Co., Ltd, Tokyo, Japan (JMDC) ราวช่วงปี 2005 ถึง 2013 ประเมินผล spontaneous report signals (ใช้ disproportionality analysis) ด้วยค่า reporting odds ratio (ROR; ยาเพิ่มความเสี่ยงเมื่อค่าล่างของ 95% CI เกิน 1) และค่า information component (IC; ยาเพิ่มความเสี่ยงเมื่อค่าล่างของ 95% CI เกิน 0) ผลจาก FAERS database เมื่อพิจารณาภาพรวมของ statins ทั้งกลุ่ม พบว่ามีนัยสำคัญในการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (ROR: 1.29, 95% CI: 1.20-1.38; IC: 0.35, 95% CI: 0.25-0.45) มะเร็งตับอ่อน (ROR: 1.35, 95% CI: 1.24-1.47; IC: 0.42, 95% CI: 0.30-0.55) และมะเร็งต่อมลูกหมาก (ROR: 1.25, 95% CI: 1.17-1.34; IC: 0.31; 95% CI;0.21-0.42) ในขณะที่มีผลในทางลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม (ROR: 0.48, 95% CI: 0.46-0.51; IC: -1.03, 95% CI: -1.10 ถึง -0.96) และมะเร็งเม็ดเลือด (ROR: 0.52, 95% CI: 0.49-0.54; IC: -0.93, 95% CI: -1.00 ถึง -0.85) และเมื่อพิจารณายาแต่ละตัวพบว่ามีนัยสำคัญต่อการเกิดโรคมะเร็งดังนี้ simvastatin กับมะเร็งตับอ่อน; rosuvastatin กับมะเร็งตับอ่อนและมะเร็งต่อมลูกหมาก; atorvastatin กับมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งปอด มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งต่อมลูกหมาก; pitavastatin กับมะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งต่อมลูกหมาก; และ lovastatin กับมะเร็งต่อมลูกหมาก ในขณะที่ยามีผลในทางลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งดังนี้ มะเร็งปอดกับ simvastatin และ lovastatin; มะเร็งกระเพาะอาหารกับ simvastatin; มะเร็งเต้านมกับ simvastatin, rosuvastatin, atorvastatin, fluvastatin, pitavastatin, pravastatin และ lovastatin; มะเร็งเม็ดเลือดกับ simvastatin, rosuvastatin, atorvastatin, fluvastatin, pravastatin และ lovastatin; และมะเร็งต่อมลูกหมากกับ pravastatin
ส่วนข้อมูลจาก JMDC claims database เมื่อพิจารณาภาพรวมของ statins ทั้งกลุ่ม พบว่ามีนัยสำคัญในการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งปอด และมะเร็งตับอ่อน ค่า adjusted crude sequence ratio (ASR; ค่า sequence ratio มากกว่า 1 แสดงว่าเพิ่มความเสี่ยง) เท่ากับ 1.20 (95% CI: 1.08–1.34), 1.32 (1.13–1.53) และ 1.31 (1.13–1.53) ตามลำดับ ในขณะที่ยามีผลในทางลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม (ASR: 0.81, 95% CI: 0.66–0.98) ส่วนมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งต่อมลูกหมาก และเมลาโนมา (melanoma) ไม่มีนัยสำคัญ และเมื่อพิจารณายาแต่ละตัวพบว่ามีนัยสำคัญในการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งดังนี้ มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงกับ atorvastatin (1.33, 1.12–1.57) และ pitavastatin (1.32, 1.06–1.65); มะเร็งปอดกับ rosuvastatin (3.46, 2.80–4.28) และ atorvastatin (1.28, 1.01–1.64); มะเร็งตับอ่อนกับ atorvastatin (1.47, 1.14–1.90) ในขณะที่ยามีผลในทางลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งดังนี้ มะเร็งกระเพาะอาหารกับ simvastatin (0.51, 0.29–0.87); มะเร็งเต้านมกับ simvastatin (0.25, 0.06–0.83) และ rosuvastatin (0.74, 0.56–0.99); และมะเร็งเม็ดเลือดกับ pravastatin (0.61, 0.38–0.97) ผลการศึกษามีสรุปไว้ในตาราง มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ statins กับความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งชนิดอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นที่ได้รับจากการศึกษาอื่น เช่น มีรายงานจากการศึกษาแบบ nested case control study ที่เป็นข้อมูลการใช้ยาช่วงปี 1999 ถึง 2010 พบว่าการใช้ statins ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับ (OR: 0.32, 95%CI: 0.15–0.67) นอกจากนี้บางการศึกษารายงานผลแตกต่างออกไป เช่น กรณีมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มีการศึกษาที่ทำ meta-analysis โดยข้อมูลมาจาก observational study ที่เป็น cohort study 39 การศึกษา และ case-control study 2 การศึกษา มีผู้เข้าร่วมในการศึกษา 990,649 คน พบว่าการใช้ statins ลดการตายจากโรคมะเร็ง (HR: 0.69, 95% CI: 0.60–0.79) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนิด มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเต้านม
อ้างอิงจาก:
(1) Fujimoto M, Higuchi T, Hosomi K, Takada M. Association between statin use and cancer: data mining of a spontaneous reporting database and a claims database. Int J Med Sci 2015;12:223-33; (2) McGlynn KA, Divine GW, Sahasrabuddhe VV, Engel LS, VanSlooten A, Wells K, et al. Statin use and risk of hepatocellular carcinoma in a U.S. population. Cancer Epidemiol 2014;38:523-7; (3) Zhong S, Zhang X, Chen L, Ma T, Tang J, Zhao J. Statin use and mortality in cancer patients: systematic review and meta-analysis of observational studies. Cancer Treat Rev 2015;41:554-67.