หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Ibuprofen เป็น NSAID ที่มีความเสี่ยงต่ำสุดต่อ GI bleeding จริงหรือ?

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน กรกฎาคม ปี 2558 -- อ่านแล้ว 33,298 ครั้ง
 

NSAIDs หรือยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs) ซึ่งมักจะหมายถึงยาในกลุ่มดั้งเดิม (conventional NSAIDs หรือ non-selective NSAIDs) ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง prostaglandins โดยยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase (COX) ทั้ง COX-1 และ COX-2 แม้ยาในกลุ่มนี้มีฤทธิ์บรรเทาปวด ลดไข้และลดอาการอักเสบ แต่มักนำมาใช้บรรเทาปวดและลดการอักเสบในโรคข้ออักเสบต่างๆ การที่ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ยับยั้ง COX-1 จึงมีอาการไม่พึงประสงค์ที่ทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารและเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร (gasto-intestinal bleeding หรือ GI bleeding) ซึ่งอาการไม่พึงประสงค์นี้ขึ้นกับชนิดของยาว่ามีผลต่อ COX-1 ได้มากน้อยเพียงใด และยังขึ้นกับขนาดยาและอายุผู้ป่วย ซึ่งผู้สูงอายุจะมีโอกาสเกิดได้มาก ยาในกลุ่ม NSAIDs ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อกระเพาะอาหารเท่านั้น ยังมีผลต่อลำไส้ได้ อาการไม่พึงประสงค์ต่อกระเพาะอาหารนั้นป้องกันได้ด้วยยาในกลุ่ม proton pump inhibitors (PPIs) แต่ PPIs ไม่สามารถป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ต่อลำไส้

มีผู้รวบรวมข้อมูลของ ibuprofen, diclofenac, naproxen, indomethacin และ piroxicam ซึ่งเป็น non-selective NSAIDs กับความเสี่ยงต่อ GI bleeding เทียบกับ paracetamol จากข้อมูลอาจถือได้ว่า ibuprofen เป็น NSAID ที่มีความเสี่ยงต่ำสุดต่อ GI bleeding โดยที่ขนาดยาน้อยกว่า 1,200 มิลลิกรัม/วัน มีความเสี่ยงต่ำเทียบได้กับ paracetamol ซึ่ง paracetamol นั้นไม่ว่าจะใช้ในขนาดต่ำ (<2,000 มิลลิกรัม/วัน) หรือขนาดสูง (≥4,000 มิลลิกรัม/วัน) เมื่อดูค่าเฉลี่ยอาจกล่าวได้ว่าไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อ GI bleeding แต่หากใช้ ibuprofen ขนาด ≥1,200 มิลลิกรัม/วัน จะเสี่ยงต่อการเกิด GI bleeding มากกว่า paracetamol ส่วนยาอื่นที่กล่าวข้างต้นแม้ใช้ในขนาดต่ำ กล่าวคือ diclofenac <75 มิลลิกรัม/วัน, indomethacin ≤50 มิลลิกรัม/วัน, naproxen <500 มิลลิกรัม/วัน และ piroxicam ≤10 มิลลิกรัม/วัน ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อ GI bleeding ได้มากโดยเฉพาะ piroxicam (ดูรูป)

อ้างอิงจาก:

(1) Moore N, Pollack C, Butkerait P. Adverse drug reactions and drug-drug interactions with over-the-counter NSAIDs. Ther Clin Risk Manag 2015;11:1061-75; (2) Scarpignato C, Lanas A, Blandizzi C, Lems WF, Hermann M, Hunt RH, et al. Safe prescribing of non-steroidal anti-inflammatory drugs in patients with osteoarthritis--an expert consensus addressing benefits as well as gastrointestinal and cardiovascular risks. BMC Med 2015;13:55. doi: 10.1186/s12916-015-0285-8.

คำค้นที่เกี่ยวข้อง:
NSAID non-steroidal anti-inflammatory drug conventional NSAID prostaglandin cyclooxygenase COX COX-1 COX-2 gasto-intestinal bleeding proton pump inhibitor PPI ibuprofen diclofenac naproxen piroxicam indomethacin non-selective NSAID G
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.2 เกลือแร่สำหรับท้องเสีย ORS (Oral Rehydration Salts)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้