หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คลอเรสเตอรอลกับโรคอัลไซเมอร์

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน มิถุนายน ปี 2556 -- อ่านแล้ว 4,657 ครั้ง
 

เป็นที่ทราบกันว่า การรับประทานอาหารไขมันสูง และการเพิ่มขึ้นของ LDL-คลอเรสเตอรอล ในกระแสเลือด อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคอัลไซเมอร์จากการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาท (neurodegeneration) แต่กลไกการเกิดยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

ในหนูทดลองที่รับประทานอาหารไขมันสูง พบว่ามีความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมในเซลล์ประสาท ซึ่งพบว่าร้อยละ 90 ของการทำลายเซลล์ประสาทในคนไข้อัลไซเมอร์ คือเซลล์ประสาทที่มีจำนวนโครโมโซมผิดปกติเช่นกัน ยังพบอีกว่า LDL-คลอเรสเตอรอล เหนี่ยวนำให้เกิดการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์เพาะเลี้ยง กล่าวคือ จะเกิดความผิดปกติในช่วงการจำลองตัวเองของโครโมโซมคู่ที่ 21 ซึ่งปกติจะได้คู่โครโมโซม กลายเป็นโครโมโซมเดี่ยวๆ หรือโครโมโซม 3 แท่ง โดยโครโมโซมคู่ที่ 21 นั้น มีรหัสพันธุกรรมของ amyloid peptide ซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นพิษต่อเซลล์ประสาท พบมากในสมองของคนไข้อัลไซเมอร์ นอกจากนั้น LDL-คลอเรสเตอรอล ยังทำให้รูปร่างของ mitotic spindle เปลี่ยนแปลงไป ทำให้กระบวนการแบ่งเซลล์ผิดปกติ

จากการศึกษาเหล่านี้ ช่วยให้เกิดความเข้าใจในกลไกการเกิดโรคได้มากขึ้น จะเห็นว่าการเพิ่มขึ้นของ LDL-คลอเรสเตอรอล ทำให้เกิดความผิดปกติของวัฏจักรเซลล์ ส่งผลให้มีจำนวนโครโมโซมผิดปกติ และความไม่คงตัวของโครโมโซม กระตุ้นให้เกิดการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาท
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้