หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำแนะนำใหม่จาก American Academy of Neurology (AAN) สำหรับอาการใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell ’s palsy)

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน พฤศจิกายน ปี 2555 -- อ่านแล้ว 4,241 ครั้ง
 
อาการใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell ’s palsy)เป็นโรคที่พบบ่อย มีอุบัติการณ์การเกิด 20 คนต่อประชากร 100,000 คน ร้อยละ 70-85 จะหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา สาเหตุของโรคเกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอักเสบยังไม่แน่ชัด เมื่อไม่นานมานี้ American Academy of Neurology (AAN) ได้ออกคำแนะนำให้ใช้ยา steroids เช่น prednisolone ในการรักษา Bell ’s palsy และ ไม่แนะนำให้ใช้ยาต้านไวรัส เนื่องจากอาจจะไม่มีประสิทธิภาพการรักษา ทั้งนี้เป็นผลจากการศึกษา 3 การศึกษาที่เผยแพร่ออกมาในปี 2002, 2007 และ 2008 ซึ่งเป็นการศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้ยาและไม่ใช้ยา steroids ในการรักษา Bell ’s palsy โดยการศึกษาในปี 2007 และ 2008 พบว่าผู้ที่ได้รับยา steroids ในการรักษามีอัตราการหายขาดของอาการ (complete recovery) มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยาอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีความแตกต่างระหว่างของ complete recovery ระหว่างสองกลุ่มเท่ากับ ร้อยละ 12.8 และ 15 จากการศึกษาในปี 2007(Sullivan et al) และ 2008 (Egstrom et al) ตามลำดับ อาการข้างเคียงจาก steroids ที่พบบ่อย ได้แก่ นอนไม่หลับ และไม่สบายท้อง ซึ่งเกิดขึ้นน้อยและเป็นแค่ชั่วคราว ส่วนข้อสรุปเกี่ยวกับการยกเลิกใช้ยาต้านเชื้อไวรัส เป็นผลมาจากการศึกษา 8 การศึกษา ซึ่ง 2 การศึกษามีความน่าเชื่อถือ class I เผยแพร่ในปี 2007 และ2008 พบว่า การใช้ยาต้านเชื้อไวรัสไม่ได้ช่วยรักษาอาการของโรคให้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับยาหลอก แม้จะใช้ร่วมกับ steroids ก็ไม่ช่วยเพิ่มประโยชน์ในการรักษาเมื่อเทียบกับ steroids เดี่ยวๆ อย่างไรก็ตามผลการศึกษานี้ยังไม่แสดง statistical power ของผลดีขึ้นเล็กน้อย (modest benefit) ของการใช้ยาต้านไวรัสในการรักษาโรค Bell ’s palsy ดังนั้นการใช้ยาต้านไวรัสในการรักษาอาจจะให้ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยา steroids ได้
 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้