โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนไทยทั้งเพศหญิงและเพศชาย มักพบในผู้สูงอายุ โดยสาเหตุสำคัญของโรค คือ การทำงานของฮอร์โมนที่ลดลง ส่วนสาเหตุอื่นๆของโรคกระดูกพรุน เช่น การดื่มกาแฟ การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ ขาดการออกกกำลังกาย เป็นต้น1
บิสฟอสโฟเนต (bisphosphonates) เป็นยาที่มีข้อบ่งใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุน ได้แก่ โรคกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจําเดือน โรคกระดูกพรุนในชายวัยสูงอายุ โรคกระดูกพรุนที่เกิดจากยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) มะเร็งที่กระจายไปที่กระดูก ภาวะแคลเซียมสูงโดยเฉพาะที่เกิดจากมะเร็ง และโรคพาเจท (Paget's disease) ซึ่งยาในกลุ่มนี้มีหลายตัว เช่น อเลนโดรเนต (alendronate) ริสสิโดรเนต (risedronate) ไอแบนโดรเนต (ibandronate) ซึ่งเป็นยาในรูปแบบรับประทาน และโซลิโดรเนต (zoledronate) เป็นยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ2
ยาบิสฟอสโฟเนตเป็นยาที่ต้องรับประทานให้ถูกวิธีอย่างเคร่งครัด เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการรักษา เพราะการรับประทานยาบิสฟอสโฟเนตมีการดูดซึมในทางเดินอาหารค่อนข้างน้อย ดังนั้นการรับประทานยาผิดวิธีอาจทำให้ยาไม่ได้ประสิทธิผลในการรักษาโรค และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร จึงมีคำแนะนำในการใช้ยาที่ถูกวิธีสำหรับผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยานี้3 คือ
กรณีที่ลืมรับประทานยาในตอนเช้า ไม่ควรรับประทานยาในวันที่ลืมให้ข้ามการรับประทานยาในวันนั้นไปแล้วเริ่มรับประทานยาใหม่ในเช้าวันรุ่งขึ้น ในช่วงเวลาเดิมที่เคยรับประทาน โดยห้ามเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า เนื่องจากยาบิสฟอสโฟเนตดูดซึมได้ดีที่สุดตอนเช้าหลังตื่นนอนขณะท้องว่าง4
นอกจากการรับประทานยาที่ถูกวิธีแล้ว การปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้เห็นประสิทธิผลสูงสุดในการรักษา เช่น ออกกำลังกายเป็นกิจวัตร รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง งดการดื่มสุราและสูบบุหรี่ ระมัดระวังการใช้ยาที่อาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน เช่น ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น5
เอกสารอ้างอิง