หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อยากทราบข้อมูลยา Siduol ของบริษัท Eisai ที่ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวาร ในส่วนของการออกฤทธิ์ อาการไม่พึงประสงค์ ข้อควรระวัง ข้อห้ามใช้ การใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

ถามโดย ภก.สายัณห์ เผยแพร่ตั้งแต่ 18/11/2003-22:10:12 -- 76,212 views
 

คำตอบ

สำหรับข้อมูลยา siduol เกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของยานั้นไม่สามารถระบุได้แน่ชัด เนื่องจากตำรับยา siduol ประกอบด้วยสารสำคัญมากกว่า 1 ชนิด ได้แก่ vitamin E Ca succinate, rutin, lysozyme chloride, vitamin K1 และ pluronic F-68 เป็นต้น แต่จากส่วนประกอบดังกล่าว สามารถบอกถึงกลไกการออกฤทธิ์ของ siduol ที่เป็นไปได้ในการศึกษาโรคริดสีดวงทวาร 1. ลดการอักเสบที่บริเวณแผลที่หลอดเลือดจากฤทธิ์ antioxidant ของ vitamin E , rutin ซึ่งเป็นสารประเภท flavonoid และสาร rutin ยังมีรายงานในการศึกษาภาวะหลอดเลือดฝอยแตกร่วมกับภาวะหลอดเลือดฝอยเปราะบาง นอกจากนี้ lysozyme chloride อาจช่วยในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เป็นสาเหตุทำให้มีการอักเสบบริเวณ บาดแผลมากขึ้น 2. vitamin K และแคลเซียมที่อยู่ในรูปของสารประกอบเชิงซ้อนกับ vitamin E อาจออกฤทธิ์เกี่ยวกับกระบวนการแข็งตัวของเลือด ( blood clotting pathway ) ลดอาการมีเลือดออกจากบาดแผล (bleeding) 3. pluronic F-68 เป็นสารชนิดเดียวในตำรับที่มีคุณสมบัติเป็นสารลดแรงตึงผิว มีรายงานว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเกาะตัวของเกร็ดเลือด (platelet aggregation) ในระบบการไหลเวียนโลหิตย่อยๆ (microcirculation) ที่เกิด ischemic ขึ้นลดการคั่งของเลือดที่บริเวณดังกล่าว อย่างไรก็ตามกลไกการออกฤทธิ์ต่าง ๆ ที่ได้กล่าวออกมา อาศัยคุณสมบัติเฉพาะของสารนั้น ๆ ในการอธิบายการออกฤทธิ์ของ siduol สำหรับอาการไม่พึงประสงค์, ข้อควรระวัง และการใช้ยาในสตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร ควรสอบถามข้อมูลโดยตรงจากบริษัทยา เนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอสำหรับการตอบประเด็นหลัง

Reference:
1. Martindale the extra pharmacopeia. 29th edition, 1989.The pharmaceutical press
2. Edwards CM, Heptinsall S, Lowe KC. Pluronic F-68 inhibit agonist-induced platelet aggregation in human whole blood in vitro. Artif Cells Blood Substit Immobil Biotechnol 1998;26(5-6):441-7.
3. MIMS Thailand 2002;31(3).

Keywords:
-





ทางเดินอาหาร

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้