หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ลูกอายุ 6 ขวบ ทานยา phenobarbital มาตั้งแต่ 4 ขวบ เนื่องจากมีอาการชัก ตอนนี้ทานครบ 2 ปีแล้ว แต่หมอยังไม่สั่งหยุดยาเลยค่ะ อยากสอบถามผลข้างเคียงของการทานยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานานค่ะ

ถามโดย FRD เผยแพร่ตั้งแต่ 03/06/2020-11:35:35 -- 7,860 views
 

คำตอบ

ฟีโนบาร์บิทาล (phenobarbital) นำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์หลายอย่างรวมถึงใช้เป็นยากันชักทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ในกรณีที่ใช้ยานี้ในเด็ก ผลข้างเคียงในช่วงแรกอาจพบอาการง่วงซึม ต่อมาอาการดังกล่าวจะลดลงหรือหายไป และเด็กบางคนอาจเกิดอาการตรงกันข้าม คือ อาการตื่นตัว นอนไม่หลับ ตลอดจนมีอาการก้าวร้าว การใช้ระยะยาวอาจรบกวนความสามารถในการเรียนรู้ ความจำและความใส่ใจของเด็ก ตลอดจนอาจเกิดการติดยาซึ่งหากจะหยุดใช้ยาต้องค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตามประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ยาเพื่อป้องกันอาการชักมีมากกว่าความเสี่ยงต่อผลไม่พึงประสงค์เหล่านี้ โดยทั่วไปแล้วยากันชักมักจะใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเพื่อควบคุมการชัก หากผู้ป่วยมีแนวโน้มที่สามารถควบคุมอาการชักได้ดีและไม่มีอาการผิดปกติเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี แพทย์อาจพิจารณาหยุดยา ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้ให้การรักษา และหากผู้ปกครองมีความกังวลใจในเรื่องผลข้างเคียงควรปรึกษาแพทย์เพื่อการปรับเปลี่ยนยา Keywords: phenobarbital, long-term side effects, ฟีโนบาร์บิทาล, ผลไม่พึงประสงค์, ผลข้างเคียงในระยะยาว

Reference:
1. สมาคมโรคลมชักแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการบริหารยากันชัก. แนวทางเวชปฏิบัติโรคลมชัก สำหรับแพทย์. 2558 เข้าถึงได้จาก: http://thaiepilepsysociety.com/wp-content/uploads/2016/11/แนวทางเวชปฏิบัติลมชักสำหรับแพทย์_2015.pdf
2. McBrien D. University of Iowa Stead Family Children’s Hospital. Epilepsy in young children: What is the treatment?. เข้าถึงได้จาก: https://uichildrens.org/health-library/epilepsy-young-children-what-treatment
3. American Addiction Centers. Phenobarbital: long-term side effects. 2563 เข้าถึงได้จาก: https://americanaddictioncenters.org/phenobarbital-abuse/long-term-side-effects

Keywords:
-





ระบบประสาท

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้