หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Thiamine 500 mg IV q 8 hour ช่วยเพิ่ม lactic clearance ได้ ใน septic shock สงสัยว่าใน practice จริงๆตอนนี้มีการใช้แพร่หลายหรือไม่ครับ

ถามโดย แพทย์ทั่วไป เผยแพร่ตั้งแต่ 21/04/2020-03:33:45 -- 26,347 views
 

คำตอบ

ภาวะ septic shock หรือภาวะช็อคที่เกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง เกิดร่วมกับความผิดปกติทางด้านระบบไหลเวียนโลหิต ระบบการทำงานของเซลล์ และระบบเมแทบอลิซึม จัดว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้พบว่าผู้ป่วยดังกล่าวมีภาวะแลกเทตในซีรัมสูง มีการศึกษาที่แสดงถึงประสิทธิภาพของไทอะมีน (thiamine) หรือวิตามินบีหนึ่งที่เพิ่มการขับแลกเทตออกจากร่างกายได้ เช่น Woolum และคณะ (ค.ศ. 2018) ที่รายงานถึงการให้ไทอะมีนแก่ผู้ป่วยที่มีภาวะ septic shock ภายใน 24 ชั่วโมงที่มาถึงโรงพยาบาลว่าช่วยกำจัดแลกเทตออกจากร่างกายและลดอัตราการเสียชีวิตได้เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับไทอะมีน ขนาดยาที่ให้ 100-500 มิลลิกรัม โดยส่วนใหญ่ได้รับ 500 มิลลิกรัม นาน 3 วัน (เป็นค่ากลาง) ขนาดยาดังกล่าวสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของหน่วยงานที่ทำการศึกษา (ซึ่งให้ยาขนาด 500 มิลลิกรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 72 ชั่วโมง) อย่างไรก็ตามขนาดยาไทอะมีนจากรายงานอื่นมีได้แตกต่างกัน และการให้ยานี้กับผู้ป่วยทุกรายที่มีภาวะช็อคเพื่อหวังผลในการเพิ่มการขับแลคเตทออกจากร่างกายนั้นขณะนี้ยังมีความขัดแย้งกัน เนื่องจากบางการศึกษาไม่เห็นประโยชน์ของการใช้ไทอะมีนกับผู้ป่วยทุกรายที่มีภาวะ septic shock Keywords: thiamine, lactic clearance, septic shock, ไทอะมีน, วิตามินบีหนึ่ง

Reference:
1. Moskowitz A, Donnino MW. Thiamine (vitamin B1) in septic shock: a targeted therapy. J Thorac Dis 2020;12(Suppl 1):S78‐S83.
2. Woolum JA, Abner EL, Kelly A, Thompson Bastin ML, Morris PE, Flannery AH. Effect of thiamine administration on lactate clearance and mortality in patients with septic shock. Crit Care Med 2018;46:1747-52.
3. Litwak JJ, Cho N, Nguyen HB, Moussavi K, Bushell T. Vitamin C, hydrocortisone, and thiamine for the treatment of severe sepsis and septic shock: a retrospective analysis of real-world application. J Clin Med 2019. doi:10.3390/jcm8040478
4. Donnino MW, Andersen LW, Chase M, Berg KM, Tidswell M, Giberson T, et al. Randomized, double-blind, placebo-controlled trial of thiamine as a metabolic resuscitator in septic shock: a pilot study. Crit Care Med 2016;44:360-7.

Keywords:
-





วิตามินและอาหารเสริม อื่นๆ

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้