หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผมเคยเป็นวัณโรคต่อมน้ำเหลือง แล้วทานยาประมาณหกเดือน แล้วแต่รู้สึกร่างกายบ้างส่วนชาบ่อยมากไม่ทราบจะแก้ไขอย่างไรดีครับ เคยทานวิตามิน b รวมแล้ว

ถามโดย a เผยแพร่ตั้งแต่ 30/11/2006-12:36:00 -- 14,813 views
 

คำตอบ

การรักษาวัณโรคต้องใช้ระยะเวลานาน และใช้ยาร่วมกันหลายตัว ยารักษาวัณโรคที่แนะนำให้ใช้รักษาในช่วงเริ่มต้นได้แก่ 1. Isoniazid 2. Rifampin 3. Pyrazinamide 4. Ethambutol 5. Streptomycin ยาข้างต้นสามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้หลากหลายต่างกัน สำหรับอาการข้างเคียงที่ทำให้ปลายประสาทชา (peripheral neuropathy) นั้นเป็นอาการข้างเคียงที่พบได้มากในยา isoniazid โดยเกิดได้ประมาณ 20% ของผู้ป่วยที่ได้รับยาขนาด 6 mg/kg/day และไม่ได้รับ vitamin B6 (pyridoxine) เสริม อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับขนาดยาที่ผู้ป่วยได้รับ และสามารถป้องกันได้ด้วยการให้ vitamin B6 ควบคู่ไปด้วยกัน อาการข้างเคียงนี้เกิดจากกลไกที่ยา isoniazid ไปยับยั้งการสร้าง pyridoxine จึงทำให้มีปริมาณลดลง โดย vitamin B6 มีบทบาทสำคัญในการบำรุงปลายประสาท ในผู้ป่วยที่ดื่มสุรา, มะเร็ง, โรคไต, เบาหวาน, โรคเอดส์, โรคตับเรื้อรัง, สูงอายุ ผู้ที่ขาดสารอาหาร, หญิงให้นมบุตร หรือหญิงตั้งครรภ์ มีโอการสูงที่จะเกิดอาการข้างเคียงนี้ได้ เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงต่อการขาด pyridoxine อยู่แล้ว โดยปกติควรให้ pyridoxine ขนาด 10-100 mg/day ควบคู่กับการรักษาด้วย Isoniazid ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงข้างต้น และในผู้ป่วยที่ได้รับขนาดยา isoniazid สูง หรือมีโรคของการอักเสบของปลายประสาทอยู่ก่อนแล้ว ควรได้รับ pyridoxine ขนาด 100-300 mg/day ในกรณีที่ถามมานี้ผู้ป่วยควรได้รับ pyridoxine หรือ vitamin B6 เสริมในขนาด 10-100 mg/day สำหรับวิตามินบีรวมที่เคยได้นั้นต้องตรวจสอบดูว่าขนาดของ vitamin B6 ที่เป็นส่วนประกอบในเม็ดยานั้นๆ มีปริมาณเท่าไหร่และเพียงพอกับขนาดที่ควรได้รับดังที่กล่าวมาหรือไม่

Reference:
1. Micromedex Healthcare series 2007
2. Harrison’s principles of internal medicine , 15th ed vol 1, 2001:p 1031-1032.

Keywords:
-





ภูมิคุ้มกันและการติดเชื้อ

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้