หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อยากทราบค่ะว่ายา omeprazole สามารถรักษากระเพาะอักเสบทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังได้ไหมคะ แล้วกรณีไม่มีแผลในกระเพาะรับประทานได้หรือเปล่า ระยะเวลารักษาการอักเสบต้องใช้เวลานานแค่ไหนคะจึงจะทราบว่าหายดีขึ้นน่ะค่ะ

ถามโดย kimfung เผยแพร่ตั้งแต่ 29/07/2014-10:26:36 -- 6,355 views
 

คำตอบ

Omeprazole เป็นยายับยั้งการหลั้งกรดในกระเพาะอาหาร มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคในทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกรดในกระเพาะอาหาร เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร (gastric ulcer) โรคแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenal ulcer) หลอดอาหารอักเสบเป็นแผล (erosive esophagitis) โรคกรดไหลย้อน (gastro-esophageal reflux disease; GERD) และภาวะผิดปกติที่มีการหลั่งกรดมาก (เช่น Zollinger-Ellison syndrome, multiple endocrine adenoma และ systemic mastocytosis) ตลอดจนใช้ร่วมกับยาต้านจุลชีพเพื่อกำจัดเชื้อ Helicobacter pylori ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ร่วมเป็นสาเหตุของการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและแผลในลำไส้ ส่วนกรณีกระเพาะอาหารอักเสบ (gastritis) นั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ดื่มสุรา ใช้ยาบางชนิด ติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส การไหลย้อนของน้ำดี หรือเป็นโรคโลหิตจางบางชนิด กระเพาะอาหารอาจทำให้เกิดการอักเสบ การระคายเคืองหรือเกิดเป็นแผลขึ้น การรักษาจึงแตกต่างกันตามสาเหตุและความรุนแรง ซึ่ง omeprazole ไม่ใช่ยาหลักที่นำมาใช้รักษา Keywords; omeprazole, gastritis, duodenal ulcer, gastric ulcer, erosive esophagitis, gastro-esophageal reflux disease, GERD, Zollinger-Ellison syndrome, multiple endocrine adenoma, systemic mastocytosis, Helicobacter pylori

Reference:
1. Berardi RR, Fugit RV. Peptic ulcer disease. In: Dipiro JT, L.Talbert R, Yee GC, Matze GR, Wells bG, Posey LM, editors. Pharmacotherapy: A pathophysiology approach, 8th edition. China: McGrawHill; 2011. p. 563-85.
2. Sepulveda AR. Autoimmune atrophic gastritis. 2012. Available from: http://emedicine.medscape.com/ article/176036-overview#a0104.
3. Bestpractice. bmj. Gastritis. London: BMJ Publishing Group Ltd; c2014 [updated 2013 Sep 04]. Available from: http://bestpractice.bmj.com/best-practice/monograph/816.html

Keywords:
-





ทางเดินอาหาร

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้