หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

1. อยากทราบวิธีการทำ skin test 2. ความเข้มข้นของยาแต่ละชนืดที่ใช้ทำ skin test 3. หลักการเลือกยาเพื่อทดสอบ ยาใดควรทำ/ไม่ควรทำ ขอบคุณค่ะ

ถามโดย ภญ. เผยแพร่ตั้งแต่ 25/03/2005-15:26:19 -- 7,015 views
 

คำตอบ

วิธีการทำ skin test มี 2 วิธีที่นิยม ได้แก่ 1. Percutaneous and epicutaneous tests 1.1 Scratch tests ตรวจโดยการหยด extract ลงบนผิวหนังที่ทำให้เกิดรอยถลอกในชั้นตื้นๆ แต่ไม่ถึงชั้น dermis วิธีนี้ไม่นิยม เนื่องจากเป็นวิธี non-specific มาก 1.2 Skin prick tests ตรวจโดยการหยด extract ลงบนผิวหนัง ใช้เข็มสะกิดผิวหนังเบาๆ ผ่านหยด extract และสะกิดให้อยู่ในชั้น epidermis เท่านั้น จากนั้นเช็ดหยดน้ำยาออก สังเกตขนาดของ wheal และ flare ที่เกิดขึ้น วิะนี้เป็นวืธีทดสอบทางผิวหนังที่เป็นที่ยอมรับและแนะนำให้ใช้เป็นอันดับแรก 2. Intradermal skin tests ตรวจโดยฉีด allergan เข้าสู่ชั้น dermis เพื่อทำให้เกิดเนื้อเยื่อแข็ง (induration) ขนาดประมาณ 2-3 มม. ซึ่งประมาณว่า extract ที่ใช้ฉีดเข้าสู่ผิวหนังจะเป็นประมาณ 0.01-0.05 มล. ส่วนประกอบที่ใช้ในการตรวจ 1. Allergan extracts คือ น้ำยาที่สกัดออกมาจากสารก่อภูมิแพ้ และนำมาเจือจางด้วย diluent ที่จะใช้ในการตรวจ Diluent ที่นิยมใช้ในการตรวจสอบแบบ Skin prick tests คือ 50% glycerol Diluent ที่นิยมใช้ในการตรวจสอบแบบ Intradermal skin tests คือ 2% glycerol หรือ 0.03% human serum albumin 2. Control Solutions เพื่อดูภาวะความไวของผิวหนังในสภาวะปกติว่าเป็นอย่างใด Negative control solution ที่ใช้ คือ diluent ที่ใช้ในการเก็บรักษา allergan นั้นๆ Positive control solution ที่ใช้ใน Skin prick test คือ histamine HCl หรือ histamine phosphate ความ เข้มข้น 1 mg/ml solution ที่ใช้ใน Intradermal skin tests คือ histamine 0.01 mg/ml สำหรับรายละเอียดอื่นๆ สามารถดูได้จาก 1. Allergy: Principle and Practice. Adkinson NF, Yunginger JW, Busse WM, et.al. 6th edition. 2. Allergy 2000’s ตำราโรคภูมิแพ้. ปกิต วิชยานนท์, สุกัญญา โพธิกำจร, เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม บรรณาธิการ, สมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาแห่งประเทศไทย

Reference:
-

Keywords:
-





ผิวหนังและเครื่องสำอาง

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้