หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สมัยคุณแม่ตั้งค์ท้องดิฉัน ท่านอด ลด อาหารแป้ง เพราะด้วยความที่ฉันอยู่ในท้องทำให้ท้องท่านใหญ่มาก จนนึกว่าแผด เกรงจะคลอดลำบาก ต่อมา ได้อ่านหนังสือ สาระสั้นๆ ว่า เด็กที่เกิดมามีภาวะขาดดแป้ง จะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท สมอง ซึ่งก็จริงอยู่ค่ะ ไม่ทราบว่า พอจะมีรายละเียดอาการ และวธีรักษาไหมค่ะ????

ถามโดย ชะยานิด เผยแพร่ตั้งแต่ 14/03/2013-16:47:15 -- 3,957 views
 

คำตอบ

แป้งเป็นแหล่งสำคัญของคาร์โบไฮเดรต ที่มีความจำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย ร่างกายใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สมองและระบบประสาทส่วนกลาง หากเกิดการขาดคาร์โบไฮเดรต ร่างกายจะหันไปใช้ไขมันและโปรตีนที่สะสมไว้แทน จนอาจเกิดการเผาผลาญไขมันที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดสารคีโตนขึ้น การสะสมของคีโตนในร่างกายก่อให้เกิดภาวะคีโตนในกระแสเลือดสูง (ketosis) การเกิดภาวะคีโตนในกระแสเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์ ทำให้เด็กที่เกิดมามีความผิดปกติทางการเรียนรู้และพฤติกรรม (mental retardation) ความผิดปกติที่พบได้ เช่น มีปัญหาเกี่ยวกับการจดจำ มีปัญหาในการทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ต่างๆ ขาดทักษะในการแก้ไขปัญหา ใช้เวลามากกว่าปกติในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และ มีปัญหาในการเข้าสังคม เป็นต้น ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาที่ทำให้หายขาดได้ มีเพียงการใช้ยารักษาตามอาการ เช่น ในกรณีที่มีอาการซึมเศร้า หรือมีอาการทางจิตร่วมด้วย และใช้การบำบัดและฝึกทักษะการเรียนรู้ ซึ่งสามารถขอรับคำปรึกษาได้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นจึงไม่ควรอดหรือลดอาหารจำพวกแป้งในระหว่างตั้งครรภ์ ควรทานอาหารให้ครบและสมบูรณ์ ถูกต้องตามสุขลักษณะ เพราะอาหารที่รับประทาน ไม่ว่าจะเป็นสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ ล้วนจำเป็นต่อทั้งแม่และเด็กในครรภ์ จะขาดหรือพร่องสิ่งใดไปไม่ได้

Reference:
“Low Carbs and Pregnancy” [online: http://babyfit.sparkpeople.com/articles.asp?id=217&page=2] cited on 16 March 2013.
“Pediatric Mental Retardation” [Online: http://emedicine.medscape.com/article/289117-overview#aw2aab6b2] cited on 16 March 2013.

Keywords:
-





ระบบประสาท

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้