หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เพื่อนทานยา 4 ตัวนี้ค่ะ เป็นเวลาประมาณ 2 ปีกว่า ไม่ทราบว่าจะมีผลอะไรมั้ยค่ะ 1. LEXOTAN 2. TRAMAL RETARD 100 GM 3. VALTRAESE 500 G 4. XIEMED

ถามโดย kook เผยแพร่ตั้งแต่ 13/06/2011-15:19:47 -- 15,346 views
 

คำตอบ

Tramadol retard เป็นยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์แรงกว่ายาพาราเซตามอล ผลของการใช้ยาในระยะยาว มีการศึกษาการใช้ tramadol ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้องรังนาน 58 สัปดาห์ โดยขนาดยาที่ใช้สามารถเพิ่มได้จนถึง 300-400 มิลลิกรัมต่อวัน ผลข้างเคียงที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ มึนงง ท้องผูก โดยอาการข้างเคียงมักจะเกิดขึ้นในช่วงหนึ่งเดือนแรกและอาการจะลดลงหลังจากได้รับยาไปประมาณ 3 เดือน หากใช้ยาเป็นเวลานานแล้วหยุดยาทันที ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดอาการถอนยาได้ ซึ่งอาการที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องเสีย นอนไม่หลับ เหงื่อออก สับสน วิตกกังวล ซึมเศร้า ดังนั้นจึงไม่ควรหยุดยาทันทีอาจจำเป็นต้องค่อยๆ ลดขนาดยาลง ส่วนยา LEXOTAN (bromazepam) กับ XIEMED (alprazolam) เป็นยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ใช้สำหรับรักษาอาการวิตกกังวล และช่วยให้นอนหลับ ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ หัวใจเต้นเร็ว ง่วงซึม มึนงง สับสน ปวดศีรษะ ซึมเศร้า อาจเกิดภาวะความจำเสื่อมชั่วขณะ (anterograde amnesia) หากใช้ยานี้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานอาจมีผลต่อทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น การตอบสนองทางอารมณ์และร่างกายผิดปกติ ระดับไอคิวลดลง สมาธิสั้น และเกิดการติดยา หากหยุดยาทันทีจะเกิดอาการถอนยา เช่น นอนไม่หลับ มือสั่น หัวใจเต้นเร็ว ซึมเศร้า หรืออาจถึงกับชักได้ ซึ่งผลอันนี้ไม่น่าเกิดขึ้นถ้ารับประทานเป็นครั้งคราว หรือเป็นช่วง ๆ ส่วนยา VALTRAESE 500 G ไม่แน่ใจว่าสะกดชื่อถูกหรือไม่คะเพราะจากการสืบค้นไม่พบยาตัวนี้ค่ะ

Reference:
1. Pascual MLG, Fleming RRB, Gana TJ, Vorsanger GJ. Open-label study of the safety and effectiveness of long-term therapy with extended-release tramadol in the management of chronic nonmalignant pain. Curr Med Opin. 2007; 23 (10). 2531-2542.
2. Malonne H, Coffine M, Fontaine D, Sonet B, Sereno A, Peretz A, et al. Long-term tolerability of tramadol LP, a new once-daily formulation, in patients with osteoarthritis or low back pain. Journal of Clinical Pharmacy and Therapeutics. 2005; 30: 113–120.
3. Busto UE, Kaplan HL,Wright CE, Gomez-Mancilla B, Zawertailo L, Greenblatt DJ, Sellers EM. A comparative pharmacokinetic and dynamic evaluation of alprazolam sustained-release, bromazepam, and lorazepam. J Clin Psychopharmacol. 2000;20:628-635.

Keywords:
-





กล้ามเนื้อและข้อต่อ

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้