หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

fluimucilแบบซองชง3เวลา ใน caseคนไข้โรคตับใช้เพื่อทำอะไรค่ะ รวมถึง duphalac ด้วยทานต่อเนื่องเป็นเดือนเลย

ถามโดย อยากรู้จัง เผยแพร่ตั้งแต่ 06/09/2010-09:45:35 -- 9,107 views
 

คำตอบ

Fuimucil เป็นชื่อการค้าที่มีตัวยา Acetylcysteine ซึ่งยาตัวนี้จะใช้เกี่ยวกับโรคตับ 2 ลักษณะ(1,2)คือ 1. แก้ไขภาวะ Acetaminophen poisoning ตามที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า acetaminophen จะถูกแปรสภาพผ่าน Glucuronidation 90% และอีก 10% แปรสภาพผ่าน cytochrome P450 2E1 เกิดสารที่มีพิษต่อตับ คือ NAPQI แต่สารนี้ก็จะถูกทำให้หดพิษโดย conjugate กับ glutathione จาก cysteine acid ดังนั้นในผู้ป่วย acetaminophaen poisoning นั้น glutathione จะถูกใช้ไปมาก ทำให้ต้องเพิ่มสารที่เป็นตัวตั้งต้นสังเคราะห์ glutathione เข้าไปในร่างกาย นั่นคือ acetylcysteine 2. รักษา acute liver failure ที่เกิดจากสาเหตุอื่น เนื่องจากภาวะ acute liver failure ทำให้เซลล์เนื้อเยื่อตับไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้ (impaired tissue oxygen extraction) ดังนั้นเซลล์ตับจึงเกิดภาวะขาดออกซิเจน(hypoxia)ตามมา มีการศึกษาที่ใช้ acetylcysteine ในผู้ป่วยกลุ่มนี้และพบว่าตับมี hepatosplanic perfusion ที่ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามพบว่าการศึกษาต่างๆยังคงสรุปไม่ได้ถึงการใช้ cysteine ใน acute liver failure เนื่องจากยังไม่พบว่าสามารถลดอัตราการเสียชีวิต ดังนั้นการใช้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงไม่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ Duphalac เป็นชื่อการค้าของ lactulose ซึ่งเป็น first line therpapy สำหรับรักษา Hepatic encephalopathy เนื่องจากผู้ป่วยตับแข็งจะมีของเสียในร่างกายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะแอมโมเนีย กลไกของ lactulose คือ lactulose จะถูกเปลี่ยนเป็น lactive acid, acetic acid และทำให้สภาพแวดล้อมเป็นกรด แอมโมเนียถูก protonated เป็น ammonium ion และขับออกจากร่างกาย นอกจากนี้กลไกของตัวมันเองยังเป็น laxative agents ที่ช่วยขับแอมโมเนียออกจากร่างกายอีกด้วย(3)

Reference:
1. Heard KJ. Acetylcysteine for Acetaminophen poisoning. N Engl J Med 2008;359:285-92.
2. Sklar GE, Subramaniam M. Acetylcysteine treatment for non–Acetaminophen-induced acute liver failure. Ann Pharmacother 2004;38:498-501.
3. Thompson JR. Treatment guidelines for hepatic encephalopathy. Pharmacotherapy 2010;30(5 ):4S–9S.

Keywords:
-





ทางเดินอาหาร

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้