หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ป่วยเป็นธาลัสซีเมีย กินยา Deferiprone แพ้ Penicillin, Norfloxacin มีอาการน้ำมูกเขียวข้น คัดจมูก ไข้ เจ็บคอ เสมหะเยอะ - ใช้ฆ่าเชื้อตัวไหนถึงจะปลอดภัย ? - ใช้ยาละลายเสมหะ แก้แพ้ตัวไหน

ถามโดย K เผยแพร่ตั้งแต่ 31/12/2024-20:28:57 -- 100 views
 

คำตอบ

การประเมินการติดเชื้อและการเลือกยาปฏิชีวนะให้เหมาะสมกับอาการแสดงที่เกิดขึ้นควรพิจารณาอาการแสดงอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ระยะเวลาที่มีอาการ อาการร่วมอื่น ๆ อายุของผู้ป่วย (1) โดยควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์หรือการประเมินเบื้องต้นจากเภสัชกรร้านยาเพื่อการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับอาการที่เกิดขึ้น กรณีแพ้ยา penicillin และ norfloxacin ควรพิจารณาหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะบางตัว เช่น amoxicillin, ampicillin, dicloxacillin, amoxicillin-clavulanate, ciprofloxacin, levofloxacin, moxifloxacin (2,3) นอกจากนี้ผู้ป่วยธาลัสซีเมียอาจหลีกเลี่ยงยาที่เป็นพิษต่อตับ (4,5) ลดการทำงานของไต (6) กระตุ้นการแตกของเม็ดเลือดแดง (7) ส่วน deferiprone ควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับยาที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ และรับประทานห่างจากอาหารเสริมแร่ธาตุและยาลดกรดอย่างน้อย 4 ชั่วโมง (8) ดังนั้นการเลือกใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ทั้งนี้ยาละลายเสมหะและยาแก้แพ้โดยส่วนมากไม่พบอันตรกิริยาที่สำคัญจนส่งผลต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยเมื่อใช้ร่วมกับ deferiprone เช่น ยาละลายเสมหะ ได้แก่ acetylcysteine, ambroxol และยาแก้แพ้ ได้แก่ fexofenadine, loratadine (9)

Reference:
Thomas M, Bomar PA. Upper respiratory tract infection. 2023. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2025.

Roland S, Elizabeth JP, Anna MF. Patient education: Allergy to penicillin and related antibiotics (Beyond the basics). UpToDate. Updated Dec 2024. Accessed Jan 10, 2025. https://www.uptodate.com/contents/allergy-to-penicillin-and-related-antibiotics-beyond-the-basics/print#:~:text=They%20include%20many%20individual%20medications,antibiotics%20known%20as%20beta%2Dlactams.

Doña I, Blanca-López N, Boteanu C, Cueva-Oliver B, Fernández-Sánchez FJ, Gajate P, et al.. Clinical practice guidelines for diagnosis and management of hypersensitivity reactions to quinolones. J Investi Allergol Clin Immunol. 2021;31(4):292-307.

Helmi N, Bashir M, Shireen A, Ahmed IM. Thalassemia review: features, dental considerations and management. Electron Physician. 2017;9(3):4003-8.

Casale M, Picariello S, Corvino F, Cerasari G, Scianguetta S, Rossi F, et al. Life-threatening drug-induced liver injury in a patient with β-thalassemia major and severe iron overload on polypharmacy. Hemoglobin. 2018;42(3):213-6.

Quinn CT, Johnson VL, Kim HY, Trachtenberg F, Vogiatzi MG, Kwiatkowski JL, et al. Renal dysfunction in patients with thalassaemia. Br J Haematol. 2011;153(1):111-7.

Borgna-Pignatti C, Gamberini MR. Complications of thalassemia major and their treatment. Expert Rev Hematol. 2011;4(3):353-66.

Chiesi Farmaceutici. Ferriprox leaflet [Internet]. 2011 [cited 2025 Jan 17]. Available from: https://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/label/2011/021825lbl.pdf

Micromedex. Drug interaction [Internet]. 2024 [cited 2025 Jan 10]. Available from: https://www.micromedexsolutions.com.

Keywords:
ธาลัสซีเมีย, deferiprone, penicillin, norfloxacin





ภูมิคุ้มกันและการติดเชื้อ

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้