หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลระยะยาวต่อสมองจากการใช้ BDZs : meta-analysis

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน มีนาคม ปี 2547 -- อ่านแล้ว 2,035 ครั้ง
 
การใช้ยากลุ่ม benzodiazepines (BDZs) ในระยะยาวอาจส่งผลรบกวนการทำงานของสมองได้





BDZs เป็น psychotropic drug ที่มีการใช้มากที่สุดสำหรับในการรักษาภาวะวิตกกังวล (anxiety), นอนไม่หลับ (insomnia) และอาการตื่นตระหนก (panic disorder) ที่มีความปลอดภัยแต่การใช้ยากลุมดังกล่าวติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดอาการติดยา (ทั้ง physiological และ pharmacological dependence) และในปัจจุบันยังพบอีกว่าการใช้ BDZs นั้นอาจรบกวนการทำงานของสมองได้





Melinda J Barker และคณะได้ทำการรวบรวมและวิเคราะห์การศึกษาแบบ meta-analysis จาก 13 การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับผลการใช้ BDZs ระยะยาวต่อการทำงานของสมองในส่วนความจำ รายงานผลเป็นภาษาอังกฤษและได้รับการตีพิมพ์ลงวารสารที่ใช้ peer-reviewed system พิจารณาการตีพิมพ์การศึกษาจากฐานข้อมูล MEDLINE และ PsycINFO ในช่วงปี 1980 ถึงปี 2000 โดยการศึกษาเหล่านี้ต้องมีการวัด cognitive domain อย่างน้อย 1 อย่างขึ้นไปจาก neuropsychological test effect size คำนวณแยกในแต่ละ cognitive domain และใช้ effect size เฉลี่ยกรณีที่ในการศึกษาเดียวกันมีการวัด cognitive domain โดยใช้ neuropsychological test มากกว่า 1 แบบ





มีจำนวนผู้ป่วยที่ใช้ BDZs และกลุ่มควบคุมโดยรวมเฉลี่ยประมาณ 33 รายและ 28 รายตามลำดับซึ่งมีระยะเวลาการใช้ BDZs ตั้งแต่ 1 ถึง 34 ปี effect size ที่คำนวณได้ของแต่ละ cognitive domain อยู่ในช่วง –1.30 ถึง –0.42 และค่า weighted effect size โดยรวมเฉลี่ยเป็น –0.74 และไม่มี effect size ใดที่มี 95%confidential interval ทับค่าศูนย์จึงถือว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มที่ใช้ BDZs และกลุ่มควบคุมนั่นคือผู้ใช้ BDZs ในระยะยาวจะถูกรบกวนการทำงานของสมองมากกว่ากลุ่มควบคุม





อย่างไรก็ตามการศึกษาที่นำมาทำ meta-analysis นี้เป็นการศึกษาขนาดเล็กและมีจำนวนการศึกษาน้อย ผลการวิเคราะห์อาจไม่ใช่ความแตกต่างที่แท้จริง

 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.5 น้ำตาลตกจากยาเบาหวาน (Hypoglycemia from anti-diabetics)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้