หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Revisiting Colchicine for Acute Gout

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน มิถุนายน ปี 2553 -- อ่านแล้ว 10,614 ครั้ง
 
ที่ผ่านมาการรักษาผู้ป่วยโรคเก๊าท์เมื่อมีอาการปวดกำเริบจะให้การรักษาโดยใช้ยา colchicine ทุก 1-2 ชั่วโมงจนกว่าอาการปวดหายไปหรือเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถทนผลข้างเคียงของยาได้ นอกจากนี้การใช้ยา colchicine นั้นยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เป็นประโยชน์ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ (NSAIDs) และยาในกลุ่มสเตียรอยด์ (corticosteroids) ได้



การศึกษาชิ้นนี้เป็นการศึกษาแบบสุ่มในผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่มีอาการปวดกำเริบจำนวน 184 คน โดยกลุ่มแรกได้รับยา colchicine ขนาดสูง (1.2 มิลลิกรัมในตอนแรก ตามด้วย 0.6 มิลลิกรัมทุกชั่วโมงติดต่อกัน 6 ชั่วโมง) กลุ่มที่สองได้รับยา colchicine ขนาดต่ำ (1.2มิลลิกรัมในตอนแรก ตามด้วย 0.6 มิลลิกรัมในอีก 1 ชั่วโมงต่อมา) และผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยาหลอก

ผลการศึกษาโดยการประเมินความปวดของผู้ป่วยพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 38 ในกลุ่มที่ได้รับยา colchicine ขนาดต่ำมีคะแนนความปวดลดลงครึ่งหนึ่งใน 24 ชั่วโมง ในขณะที่ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับ colchicine ขนาดสูงและกลุ่มที่ได้รับยาหลอกมีคะแนนความปวดลดลงครึ่งหนึ่งร้อยละ 33 และร้อยละ 16 ตามลำดับ เมื่อพิจารณากลุ่มที่ได้รับยา colchicine เทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกนั้นพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา colchicine มีอาการปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนในเรื่องของผลข้างเคียงเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารนั้นพบมากในกลุ่มผู้ที่ได้รับ colchicine ขนาดสูง (ร้อยละ 77) ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับ colchicineในขนาดต่ำและยาหลอกพบร้อยละ 37 และร้อยละ 27 ตามลำดับ

 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.1 ยาคุมฉุกเฉิน Emergency contraceptive pills

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้