หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การใช้สารให้ความหวานมีความสัมพันธ์กับการเกิดเบาหวานเพิ่มขึ้น 2 เท่า

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน มิถุนายน ปี 2552 -- อ่านแล้ว 4,136 ครั้ง
 
การศึกษานี้เป็นแบบ cross-section ผลการศึกษาแสดงถึงความสัมพันธ์ของผู้ที่ใช้สารให้ความหวานว่ามีความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานและมีภาวะดื้ออินซูลินเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ใช้ โดยเปรียบเทียบผลของภาวะอ้วน เบาหวาน แคลอรี่ทั้งหมดต่อวัน ปริมาณคาร์โบไฮเดรตและไขมันที่รับประทานต่อวัน การศึกษานี้แบ่งกลุ่มผู้ป่วยจำนวน 1,257 รายเป็น 2 กลุ่มได้แก่ ผู้ป่วยที่ใช้สารให้ความหวาน ผู้ป่วยที่ไม่ใช้สารให้ความหวานหรือกลุ่มควบคุม อายุเฉลี่ย 64.8 ปี ผู้ป่วยทุกรายต้องรายงานอาหารที่รับประทานเป็นเวลา 7 วัน ทดสอบ oral glucose tolerance test (OGTT) และ วัด anthropometric ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยมีการใช้ aspartame ร้อยละ 66 saccharin ร้อยละ 13 sucralose ร้อยละ 1 และ combination ร้อยละ 21 ผู้ป่วยที่ใช้สารให้ความหวานจะมีน้ำหนักและ body mass index มากกว่าผู้ที่ไม่ใช้สารให้ความหวานทั้งที่ปริมาณการบริโภคไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีนและจำนวนแคลอรี่ไม่แตกต่างกัน ผู้ป่วยที่ใช้สารให้ความหวานมีแนวโน้มของผลทดสอบจากการทำ OGTT ปกติน้อยกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้ใช้สารให้ความหวาน ผู้ป่วยที่ใช้สารให้ความหวานมีภาวะ impaired glucose tolerance ไม่แตกต่างจากผู้ที่อยู่ในภาวะก่อนเป็นเบาหวาน (prediabetics) แต่พบอุบัติการณ์ภาวะก่อนเป็นเบาหวานเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (ร้อยละ 8.8 และ 4.4 ตามลำดับ) นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีการใช้สารให้ความหวานจะมีระดับ fasting glucose fasting insulin และภาวะดื้ออินซูลินสูงกว่าผู้ที่ไม่ใช้แต่ glycosylated hemoglobin A1C ไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษานี้ได้รับการอธิบายโดยทฤษฎีที่ว่า สารให้ความหวานสามารถกระตุ้นตัวรับ (receptors) ในเซลล์ของต่อมไร้ท่อในทางเดินอาหาร (enteroendocrine cells) ซึ่งนำไปสู่การปลดปล่อยอินครีตินและก่อให้เกิดการดูดซึมกลูโคสเข้ากระแสเลือด อีกทฤษฎีคือสารให้ความหวานสามารถเปลี่ยนแปลงอัตราการเผาผลาญผ่านเซลล์ของต่อมไร้ท่อในทางเดินอาหารซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาไปเป็นเบาหวานหรือภาวะอ้วนได้ อย่างไรก็ตามทฤษฎีนี้ยังคงต้องการการศึกษาเพื่อยืนยันผลต่อไป
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.1 ยาคุมฉุกเฉิน Emergency contraceptive pills

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้