Bevacizumab ไม่ให้ประโยชน์ในมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน มิถุนายน ปี 2552 -- อ่านแล้ว 2,800 ครั้ง
ผลนี้มาจากผลการศึกษาของ CO-8 ซึ่งนำมาแสดงในการประชุมประจำปีของ American Society of Clinical Oncology (ASCO) 2009 ครั้งที่ 45 โดยการศึกษาทำในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 หรือ 3 ที่ได้รับการผ่าตัดจำนวน 2,672 ราย ได้รับ FOLFOX (5-fluorouracil, leucovorin, และ oxaliplatin) เป็นระยะเวลา 6 เดือนเป็น adjuvant therapy ร่วมกับ bevacizumab (ปกติจะใช้ bevacizumab ในผู้ป่วยมะเร็งระยะแพร่กระจาย) โดยมีค่ากลางของระยะเวลาการติดตามผู้ป่วย 3 ปี ผลการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของ disease-free survival ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับ bevacizumab และไม่ได้รับยา (ร้อยละ 77.4 และ 75.5 ตามลำดับ) โดยมี risk reduction ร้อยละ 11 (p = 0.15) อย่างไรก็ตามพบว่า bevacizumab มีประโยชน์เมื่อติดตามผู้ป่วยที่ระยะเวลา 12 เดือน (หลังจากได้รับยาเคมีบำบัด 6 เดือนและติดตามผู้ป่วยต่อไปหลังจากนั้นอีก 6 เดือน) พบว่ามี risk reduction ร้อยละ 40 (p = 0.0004) disease-free survival ที่ระยะเวลา 2.5 ปี เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (1.5ปีและ 2 ปีในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับและได้รับ bevacizumab ร่วมด้วยตามลำดับ) แต่เมื่อติดตามไปถึงปีที่ 3 พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษานี้ได้รับการสนับสนุนด้วยผลการศึกษาที่มีชื่อว่า AVANT ซึ่งทำในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก 3,450 รายพบว่า bevacizumab ให้ประโยชน์ในระยะเวลาสั้นๆซึ่งเกิดในขณะที่มีการให้ bevacizumab อยู่ ผู้ทำการศึกษา (Dr. Wolmark) จึงให้ความเห็นว่าควรทำการศึกษามากขึ้นต่อไปเพื่อดูผลของยา ขณะที่Dr. Ellis ได้ให้ความเห็นว่าการให้ bevacizumab ไม่เพิ่ม cure rate แม้ว่าจะมีฤทธิ์เป็น angiogenic ก็ตามซึ่งยังไม่ปรากฏเป็นหลักฐานโดยตรงและการใช้ยายังต้องคำนึงถึงราคาที่ผู้ป่วยต้องจ่ายและผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นด้วยได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นต้น Dr. Ellis จึงแนะนำว่าหากผลการศึกษา AVANT พบว่าการให้ bevacizumab ไม่ให้ประโยชน์ แนวคิดที่จะทำการศึกษาโดยใช้ VEGF-inhibitor แบบ long-term ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็ไม่ควรทำเป็นการศึกษาเช่นกัน