ผลของยากลุ่ม thiazolidinediones ต่อการแตกหักของกระดูกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2552 -- อ่านแล้ว 2,045 ครั้ง
การศึกษา A Diabetes Outcome and Progression Trial (ADOPT) รายงานผลพบการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักในผู้ที่ใช้ยา rosiglitazone ซึ่งผู้หญิงที่มีภาวะเบาหวานชนิดที่ 2 นั้น มีความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักในกระดูกที่ไม่ใช่กระดูกไขสันหลัง (nonvertebral fractures) และกระดูกสะโพกหักมากกว่าคนปกติอยู่แล้ว จึงมีการทบทวนอย่างเป็นระบบและอภิวิเคราะห์ (meta-analysis) เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ยากลุ่ม thiazolidinediones เป็นระยะเวลานาน ผลการศึกษาพบว่าเมื่อประเมินจาก RCTs 10 การศึกษาทั้ง pioglitazone และ rosiglatazone นั้นเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR 1.45, 95%CI 1.18-1.79, p0.001) และผลจาก RCTs 5 การศึกษาพบว่าเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักในผู้หญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR 2.23, 95%CI 1.65-3.01, p0.001) แต่ผู้ชายไม่มีผล (OR 1.00, 95%CI 0.73-1.39, p=0.98) เมื่อพิจารณาที่ด้านผลต่อความหนาแน่นของมวลกระดูกพบว่าผู้หญิงที่ใช้ยากลุ่ม thiazolidinediones จาก 2 RCTs มีมวลกระดูกที่ตำแหน่ง lumbar spine ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (weighted mean difference -1.11%, 95%CI -2.08% ถึง -0.14%, p=0.02) รวมทั้งกระดูกสะโพก (weighted mean difference -1.24%, 95%CI -2.34% ถึง -0.67%, p0.001) จากผลการทบทวนครั้งนี้สรุปได้ว่าการใช้ยากลุ่ม thiazolidinediones นั้นเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักในผู้หญิง