การรักษาภาวะ schizophrenia ด้วยยาในกลุ่ม 2nd generation (หรือ atyptical) antipsychotics บางตัว ไม่ได
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน มกราคม ปี 2552 -- อ่านแล้ว 6,833 ครั้ง
รายงานผลการศึกษาแบบอภิวิเคราะห์ในหัวข้อเรื่อง Second-generation versus first-generation antipsychotic drugs for schizophrenia: a meta-analysis ซึ่งรวบรวมผลงานวิจัย (randomized controlled trial) ที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาในกลุ่ม antipsychotics ระหว่าง 2nd generation กับ 1st generation ในการรักษาผู้ป่วย schizophrenia พบว่า เมื่อเปรียบเทียบกันทั้งในด้านของประสิทธิภาพการรักษาและอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น (overall efficacy; positive, negative และ depressive symptoms; relapse; quality of life; extrapyramidal side-effects; weight gain; sedation) มียาในกลุ่ม 2nd generation เพียงแค่ 4 ชนิดเท่านั้น ที่ให้ผลการรักษาโดยรวมดีกว่ายาในกลุ่มเดิม และมีผลแค่เพียงเล็กน้อยถึงระดับปานกลาง (Effect sizes : amisulpride -0.31, 95%CI -.44 to -.19, p<0.0001; clozapine -0.52, 95%CI -.75 to -.29, p<0.0001; olanzapine -0.28, 95%CI -.38 to -.18, p<0.0001; risperidone -0.13, 95%CI -.22 to -.05, p=0.002) ส่วนยาชนิดอื่นๆ (aripiprazole, quetiapine, sertindole, ziprasidone, zotepine) ให้ผลการรักษาไม่แตกต่างไปจากยาในกลุ่ม 1st generation (haloperidol, chlorpromazine, perphenazine, fluphenazine, and other drugs)
โดยส่วนใหญ่ ผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยา 2nd generation antipsychotics ไม่แตกต่างกันมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับยาที่จัดเป็น low-potency แต่หากเปรียบเทียบกับ haloperidol จะพบว่า 2nd generation ทำให้เกิด extrapyramidal side-effects น้อยกว่า แต่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้มากกว่า (ยกเว้น aripiprazole และ ziprasidone) นอกจากนี้ 2nd generation แต่ละตัวยังมีคุณสมบัติในการทำให้ง่วง (sedating properties) แตกต่างกัน
จากข้อมูลข้างต้น ผู้วิจัยจึงให้ข้อสังเกตว่า ถึงจะถูกจัดกลุ่มเข้าไว้ด้วยกัน แต่ยาในกลุ่ม 2nd generation antipsychotics แต่ละชนิดกลับมีคุณสมบัติที่ต่างกัน ดังนั้น การสั่งใช้ยาจึงควรพิจารณาตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของยา ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น และค่าใช้จ่ายในการรักษา