หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

แปะก๊วย (Ginkgo Biloba) ไม่สามารถป้องกันภาวะสมองเสื่อม (dementia)

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน ธันวาคม ปี 2552 -- อ่านแล้ว 53,145 ครั้ง
 
ในปัจจุบันมีการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปะก๊วยซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารช่วยในการเพิ่มความจำและป้องกันภาวะสมองเสื่อมด้วยคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและป้องกันการสะสมของ amyloid การศึกษาขนาดใหญ่แบบสุ่มโดยเทียบกับยาหลอกและ double-blind ในการใช้ Ginkgo biloba เพื่อป้องกันการลดลงของ cognitive function โดยดูการพัฒนาไปเป็นโรคสมองเสื่อมในอนาคต (primary prevention) ในอาสาสมัคร 3,069 ราย อายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไปซึ่งมี cognitive function ปกติ (ร้อยละ 84) หรือมีความบกพร่องของ cognitive function เล็กน้อย (mild cognitive function; MCI) (ร้อยละ 16) โดยผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมหรือรับประทานยาเหล่านี้ ได้แก่ warfarin, cholinesterase inhibitors, ยาที่มีผลต่อ psychotropic หรือวิตามินอีขนาดสูงได้ทำการคัดออกจากการศึกษา อาสาสมัครจะถูกสุ่มให้ได้รับ สารสกัด Ginkgo biloba (EGb 761) 120 mg วันละสองครั้ง (1,545 ราย) หรือยาหลอก (1,524 ราย) และติดตามผู้ป่วยเป็นเวลาประมาณ 6.1 ปี ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อมในระหว่างการศึกษาร้อยละ 16.1 และ 17.9 ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอกและ Ginkgo biloba ตามลำดับ โดยร้อยละ 92 ของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อมจัดเป็น Alzheimer’ disease (AD) อัตราการพัฒนาไปเป็นโรคสมองเสื่อมในอนาคต (p = 0.21) และ AD (p = 0.11) รวมถึงอัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ชนิดร้ายแรงไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสองกลุ่มการศึกษา
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้