FDA ต้องการให้มีคำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายจากการใช้ยากันชัก
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน ธันวาคม ปี 2551 -- อ่านแล้ว 2,763 ครั้ง
ยากันชักนอกจากจะใช้ในการรักษาอาการชักแล้วยังมีการนำไปใช้ในการรักษาไมเกรน, อาการทางจิตเวชและบรรเทาอาการปวดปลายประสาทอีกด้วย จากการตรวจสอบข้อมูลการศึกษาทดลองทางคลินิกของยากันชัก 11 ชนิดพบว่าผู้ป่วยที่ใช้ยากันชักมีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยากันชักถึงสองเท่า โดยผู้ป่วยที่ได้รับยากันชักพบความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย 0.43% ผู้ป่วยที่ไม่ได้ยากันชักพบความเสี่ยงเพียง 0.24 % หรืออาจพบผู้ป่วยที่มีความคิดหรือมีพฤติกรรมที่จะฆ่าตัวตาย 1 คนต่อผู้ป่วย 500 คนที่มีการใช้ยากันชัก สำหรับข้อมูลจากการศึกษาทดลองทางคลินิกของการใช้ยากันชักทางด้านจิตเวช พบว่าผู้ป่วยที่มีการใช้ยากันชักจะมีความคิดหรือมีพฤติกรรมที่จะฆ่าตัวตายสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยากันชักโดยมีความเสี่ยงในการเกิดสูงในช่วงสัปดาห์แรกของการเริ่มใช้ยากันชัก ดังนั้น FDA จึงต้องการให้มีคำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดการฆ่าตัวตายในฉลากยา โดยยากันชักเหล่านี้ได้แก่ carbamazepine, clonazepam, clorazepate, divalproex sodium, ethosuximide, ethotoin, felbamate, gabapentin, lamotrigine, lacosamide, levetiracetam, mephenytoin, methosuximide, oxcarbazepine, phenytoin, pregabalin, primidone, tiagabine, topiramate, trimethadione และ zonisamide