หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การใช้ Tamoxifenติดต่อกัน 10 ปี ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดที่มี estrogen receptor-positive

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน เมษายน ปี 2556 -- อ่านแล้ว 5,650 ครั้ง
 
ในหญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมชนิดที่มีestrogen receptor-positive (ER+)การรับประทาน tamoxifenติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี สามารถลดความเสี่ยงของการกลับมาของมะเร็ง และลดอัตราการเสียชีวิตในช่วง 15 ปีแรกหลังจากได้รับการวินิจฉัย

การศึกษา ATLAS (Adjuvant Tamoxifen, Longer Against Shorter)ได้ทำการศึกษาผลของการรับประทาน tamoxifenติดต่อกัน 10 ปี ต่อการกลับมาของมะเร็งและอัตราการเสียชีวิต การศึกษานี้ใช้อาสาสมัครหญิงกว่า 12,894 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรก ที่รับประทาน tamoxifenติดต่อกันมาเป็นเวลา 5 ปีแล้ว จากนั้นทำการสุ่มให้ครึ่งหนึ่งของอาสาสมัคร รับประทาน tamoxifenต่อไปอีก 5 ปีส่วนอีกครึ่งหนึ่งให้หยุดรับประทาน tamoxifenกำหนดให้เป็นกลุ่มควบคุม

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่รับประทาน tamoxifenต่ออีก 5 ปี มีความเสี่ยงของการกลับมาของมะเร็งลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม(617 vs 711; P = .002)มีอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมลดลง (331 vs 397 deaths; P = .01) และมีอัตราการเสียชีวิตโดยรวมลดลง (639 vs 722 deaths; P = .01) ซึ่งความแตกต่างนี้จะพบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติก็ต่อเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มควบคุมกับกลุ่มที่รับประทาน tamoxifenติดต่อกันมากกว่า 10-14 ปี แต่จะไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในช่วงปีที่ 5-9 นอกจากนั้นอัตราการเกิดอาการข้างเคียงในกลุ่มที่รับประทาน tamoxifen ต่อเนื่องมากกว่า 5 ปี โดยคิดจากค่า Relative risk หรือ RRยังพบว่าไม่มีความแตกต่างจากการศึกษาอื่น โดยพบว่า Relative risk ของการเกิด pulmonary embolism, ischemic heart disease และ endometrial cancerเท่ากับ 1.87, 0.76 และ 1.7 ตามลำดับ

ดังนั้นจากผลการศึกษานี้ ผู้ทำการศึกษาได้แนะนำว่าหญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมชนิดที่มีestrogen receptor-positive (ER+) ควรรับประทาน tamoxifenติดต่อกัน 10 ปี แทน 5 ปี ซึ่งจะช่วยลดการกลับมาของมะเร็งและอัตราการเสียชีวิตได้
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.5 น้ำตาลตกจากยาเบาหวาน (Hypoglycemia from anti-diabetics)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้