หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ยา aspirin อาจใช้เป็น targeted therapy ในการรักษามะเร็งลำไส้

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 5 เดือน ตุลาคม ปี 2555 -- อ่านแล้ว 4,509 ครั้ง
 
จากการศึกษาก่อนหน้านี้โดยนักวิจัยชาวอังกฤษพบว่า การใช้ยา aspirin อย่างสม่ำเสมอในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ อาจให้ผลตอบสนองที่ดีต่อการรักษามะเร็ง โดยเชื่อว่ายา aspirin ไปยับยั้ง prostaglandin-

endoperoxide synthase 2 (PTGS2) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ cyclooxygenase-2 โดยลดการสื่อสัญญาณของ phosphatidylinositol 3-kinase (PI3K) Dr. Xiaoyun Liao และคณะ จึงได้ทำการศึกษาถึงผลของยา aspirin กับการรอดชีวิตและการดำเนินของโรคในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่มีการกลายพันธุ์ของยีน PIK3CA (mutated PIK3CA) โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษา 2 แห่ง คือ The Nurses’ Health Study และ the Health Professionals Follow-up ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก จำนวน 964 ราย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีการกลายพันธุ์ของยีน PIK3CA และใช้ยา aspirin สม่ำเสมอ หลังจากได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งจำนวน 62 ราย มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง (colorectal cancer–specific mortality) และอัตราการเสียชีวิตโดยรวม (overall mortality) ลดลงเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้ยา aspirin คิดเป็นร้อยละ 82 และ 46 ตามลำดับ ในขณะที่ผู้ป่วยที่มียีนปกติและใช้ยาaspirin สม่ำเสมอไม่พบผลดีดังกล่าว การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ยีนกลายพันธุ์ PIK3CA ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักอาจใช้เป็นตัวบ่งชี้สำหรับ targeted therapy ด้วยยา aspirin อย่างไรก็ตามเนื่องจาก จำนวนผู้ป่วยในการศึกษานี้มีจำนวนจำกัด จึงควรมีการศึกษายืนยันผลของการใช้ยาaspirin ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ต่อไป

 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้