คำแนะนำใหม่จากผู้เชี่ยวชาญในการตรวจหาและรักษาภาวะไตรกรีเซอไรด์สูง (hypertriglyceridemia)
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน กันยายน ปี 2555 -- อ่านแล้ว 16,020 ครั้ง
Dr Lars Berglund จากมหาวิทยาลัย California และคณะผู้เชี่ยวชาญ ได้แนะนำให้ตรวจหาภาวะ hypertriglyceridemia โดยเร็ว ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดและภาวะตับอ่อนอักเสบได้ โดยผู้ใหญ่ควรทำการตรวจหาภาวะ hypertriglyceridemia อย่างน้อยทุก 5 ปี นอกจากนี้ยังได้แนะนำ
- การตรวจหาภาวะhypertriglyceridemia ควรตรวจระดับ triglyceride ทั้งในภาวะอดอาหารและไม่ได้อดอาหาร โดยผู้ป่วยที่มีภาวะ primary hypertriglyceridemia ควรตรวจหาปัจจัยเสี่ยงต่อโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดอื่นๆด้วย เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตูสง ความผิดปกติของการเมทาบอลิซึมน้ำตาล ภาวะบกพร่องของตับ เป็นต้น
- ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกินร่วมกับภาวะ hypertriglyceridemia เล็กน้อยหรือปานกลาง (triglycerides 150–999 mg/dl) ควรรักษาโดยการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต เช่น การแนะนำเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย เป็นต้น เพื่อช่วยในการลดน้ำหนักและรักษาภาวะ hypertriglyceridemia สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะ hypertriglyceridemia รุนแรงถึงรุนแรงมาก (triglycerides >1,000 mg/dl) ควรลดการบริโภคอาหารไขมันและคาร์โบไฮเดรตร่วมกับการใช้ยารักษาเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะตับอ่อนอักเสบ
- เป้าหมายในการรักษาสำหรับภาวะ hypertriglyceridemia เล็กน้อย คือระดับ non-HDL cholerterol ตามคำแนะนำของ National Cholesterol Education Panel Adult Treatment Panel (NCEP ATP III)
- ยากลุ่ม fibrate เป็นทางเลือกแรกในการลดระดับ triglyceride ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิดตับอ่อนอักเสบจากภาวะ hypertriglyceridemia
- ยากลุ่ม fibrate, niacin หรือ omega-3 fatty acids สามารถใช้เดี่ยวๆหรือร่วมกับยากลุ่ม statins ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ hypertriglyceridemia ปานกลางถึงรุนแรง
- ผู้ป่วยที่มีภาวะ hypertriglyceridemia รุนแรงถึงรุนแรงมากไม่ควรรักษาด้วยยากลุ่ม statins เดี่ยวๆ