หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การใช้ยาสูดพ่น corticosteroid ในวัยตอนเด็ก มีผลเพียงเล็กน้อยต่อความสูงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน กันยายน ปี 2555 -- อ่านแล้ว 2,671 ครั้ง
 
Dr. H. William Kelly จากมหาวิทยาลัย New Mexico และคณะ ได้ทำการศึกษาทางคลินิกเพื่อดูความสัมพันธ์ของการใช้ยาสูดพ่นที่มี corticosteroid ในวัยตอนเด็กกับความสูงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ โดยผู้วิจัยได้ติดตามระดับความสูงของเด็กที่เคยเข้าร่วมการศึกษา CAMP ซึ่งเปรียบเทียบผลการใช้ยาbudisonide 400 mcg หรือ nedocromil 16 mg ต่อเนื่องนาน 4-6 ปี ในผู้ป่วยเด็กโรคหอบหืดเล็กน้อยถึงปานกลาง จำนวน 1,041 ราย อายุ 5-13 ปี เทียบกับยาหลอก โดยความสูงตอนเป็นผู้ใหญ่จะเริ่มวัดเมื่อผู้เข้าร่วมการศึกษามีอายุ 18 ปีในเพศหญิง และ 20 ปีในเพศชาย ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยความสูงตอนเป็นผู้ใหญ่ในกลุ่มที่ได้รับยา budesonide และ nedocromil จะต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก 1.2 cm (95% confidence interval [CI], −1.9 to −0.5, P = 0.001) และ 0.2 cm(95% CI, −0.9 to 0.5, P = 0.61) ตามลำดับ และความสูงที่ต่ำกว่าตอนเป็นผู้ใหญ่ในกลุ่มที่ได้รับยา budesonide เมื่อเทียบกับยาหลอกจะคล้ายกับเมื่อตอนเป็นเด็กหลังจากรักษาไปแล้ว 2 ปี นอกจากนี้ การใช้ขนาดยาสูดพ่น corticosteroid ขนาดสูงในช่วง 2 ปีแรก ยังสัมพันธ์กับระดับความสูงที่น้อยกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอก เมื่อวัดตอนเป็นผู้ใหญ่ (-0.1cm ต่อขนาดยาเป็น mcg/kg) และการเพิ่มความสูงที่ช้าลงในเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์ที่ได้รับยา budesonide เหมือนกันทั้งเพศหญิงและชายในช่วง 2 ปีแรกของการรักษา อย่างไรก็ตาม ก็ควรคำนึงถึงผลประโยชน์และความเสี่ยงที่ได้รับจากการใช้ยากลุ่ม corticosteroid ในการควบคุมอาการหอบหืดกับผลต่อความสูงตอนเป็นผู้ใหญ่ โดยอาจจะให้ขนาดยาต่ำสุดที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมอาการ เพื่อลดความกังวลเรื่องความสูงตอนเป็นผู้ใหญ่
 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้