หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ใช้ยาอย่างไรให้ลูกปลอดภัยในช่วงให้นมบุตร

โดย นศภ. กมลจันทร์ รัตนพรเจริญ เผยแพร่ตั้งแต่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2557 -- 493,091 views
 

ย่อมเป็นที่รู้กันดีว่าน้ำนมอุ่นๆ จากอกของแม่เป็นสุดยอดอาหารต่อทารกในช่วง 6 เดือนแรก จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกและ องค์การยูนิเซฟ นมแม่เป็นอาหารที่มีคุณค่ามาก ซึ่งประกอบไปด้วยสารอาหารต่างๆ มากมาย รวมถึง ภูมิคุ้มกัน และฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับทารกในการป้องกันความเจ็บป่วย ส่งเสริมพัฒนาการ และการเจริญเติบโตของเด็กอย่างมีคุณภาพ แต่บางครั้งเมื่อคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เกิดเจ็บป่วย หรือเป็นโรคประจำตัวที่ต้องใช้ยาประจำ

ดังนั้นหลักการทั่วไปสำหรับคุณแม่ที่ต้องให้นมบุตรในการเลือกใช้ยาโดยสรุป มีดังนี้

1. หลีกเลี่ยงการใช้ยา หากไม่จำเป็น หรือถ้าเป็นไปได้ให้เลื่อนการใช้ยาไปจนกว่าจะถึงเวลาที่ทารกหย่านม

2. หลีกเลี่ยงการใช้ยาสูตรผสม ควรเลือกยาที่ประกอบด้วยตัวยาสำคัญเพียงชนิดเดียว

3. ควรเลือกใช้ยาที่มีขนาดต่ำที่สุดหรือใช้ยาในช่วงระยะเลาสั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้

4. ควรเลือกใช้ยาที่มีรูปแบบสูดพ่นหรือใช้ภายนอก แทนการใช้ยาแบบรับประทานหรือฉีด เช่น

ยาบรรเทาอาการคัดจมูก แบบสูตรพ่นแทนยาบรรเทาอาการคัดจมูกแบบรับประทาน

5. ให้ทารกดูดนมก่อนให้ยามื้อถัดไป หรือรอมากกว่า 2-3 ชั่วโมง หลังจากรับประทานยาจึงให้นมบุตร

6. ในกรณีที่ต้องรับประทานยาวันละหลายครั้ง คุณแม่สามารถบีบน้ำนมเก็บไว้ก่อนที่คุณแม่จะรับประทานยา

7. หยุดให้นมลูกในกรณีที่เป็นยาที่ห้ามใช้ในหญิงให้นมบุตร

ยาที่ห้ามใช้ในสตรีให้นมแก่บุตร

ยา/กลุ่มยา

ข้อบ่งใช้

การขับยาออกทางน้ำนม/อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดในทารก /ข้อแนะนำ

Amiodarone

รักษาภาวะหัวใจ

เต้นผิดจังหวะ

ยาถูกขับออกทางน้ำนมในปริมาณมาก อาจทำให้ทารกได้รับยาผ่านทางน้ำนมซึ่งยานี้มีไอโอดีน(iodine)เป็นส่วนประกอบทำให้ทารกเกิด ภาวะไฮโปไทรอยด์

( Hypothyroidism) มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ยาเคมีบำบัด : Cyclophosphamide

Cyclosporine

Doxorubicin

Methotrexate

รักษาโรคมะเร็ง

ยาอาจกดระบบภูมิคุ้มกัน กดไขกระดูกในทารก

Ergotamine + Caffeine

รักษาอาการ

ปวดศีรษะไมเกรน

ยาขับออกทางน้ำนมได้ ผลของ Ergotamine ทำให้ทารกเกิด Ergotism (อาเจียน ท้องเสีย และชัก) รวมทั้งกดการหลั่งของน้ำนม ในขณะที่Caffeineในขนาดที่ใช้

ไม่พบว่าทำให้เกิดอันตรายต่อทารก แต่หากใช้ติดต่อกันจนเกิดการสะสมจะมีผลกระทบต่อการนอนของทารก จึงห้ามให้นมบุตรในระหว่างที่ใช้ยาดังกล่าว

ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosupressants)

ยาอาจกดระบบภูมิคุ้มกันของทารกได้

ยาในกลุ่มกรดวิตามินเอ ชนิด รับประทาน เช่น Isotretinoin

รักษาสิวที่มีอาการรุนแรง ที่ไม่สามารถควบคุมอาการ

จากการรักษาอื่นๆ

ยาถูกขับออกทางน้ำนม อาจทำให้ทารกที่ได้รับนมจากแม่ได้รับยานี้แล้ว

เกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น ปวดหลัง เป็นพิษต่อตับ เป็นต้น

ยารักษาโรคที่ใช้บ่อยในหญิงให้นมบุตร

ยา/กลุ่มยา

ข้อมูลความปลอดภัยของการใช้ยาในสตรีให้นมบุตร

  • ยาระงับปวด
  • Paracetamol
  • ยาแก้อักเสบ แก้ปวดกล้ามเนื้อที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • Aspirin

- Diclofenac

- Ibuprofen

ใช้ได้อย่างปลอดภัย

ในกรณีที่คุณแม่รับประทานยานี้เป็นระยะเวลานานจะทำให้ทารกที่ได้รับนมแม่เกิดอาการข้างเคียงของ ภาวะ(metabolic acidosis) ซึม กล้ามเนื้ออ่อนแรง เบื่ออาหาร

ใช้ได้อย่างปลอดภัย

ใช้ได้อย่างปลอดภัย

  • ยาต้านจุลชีพ

กลุ่ม Penicillins เช่น Amoxicillin Dicloxacillin

กลุ่ม Cephalosporins เช่น Cefalexin Cefaclor

กลุ่ม Maclorides เช่น Azithromycin Claarithromycin

ยาผ่านสู่น้ำนมน้อย ใช้ได้อย่างปลอดภัย

ยาผ่านสู่น้ำนมน้อย ใช้ได้อย่างปลอดภัย

ยาผ่านสู่น้ำนมน้อย ใช้ได้อย่างปลอดภัยแต่ควรสังเกตอาการข้างเคียง เช่น ท้องเสีย

  • ยาฆ่าเชื้อรา : แนะนำให้ใช้ยาฆ่าเชื้อราชนิดสอด แทนการใช้ยา

รับประทาน เช่น Clotrimazole ชนิดเหน็บช่องคลอด กรณีใช้ยารับประทานแนะนำ Fluconazole ชนิดรับประทานครั้งเดียว

ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ต่อทารก

  • ยารักษาอาการหวัด :

ยาลดน้ำมูก: Cetirizine และ Loratadine

ยาแก้อาการคัดจมูก : Pseudoephedrine

ยาแก้ไอ: Diphenhydramine

ใช้ได้อย่างปลอดภัย

ลดปริมาณน้ำนมของคุณแม่

ยานี้อาจทำให้บุตรที่ได้รับนมจากมารดาง่วงซึมได้

  • ยาลดกรด : Aluminium Hydroxide and Magnesium Hydroxide และ Ranitidine

ใช้ได้อย่างปลอดภัย

  • ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน : Domperidone และ วิตามิน B-6

ใช้ได้อย่างปลอดภัย

  • ยาแก้ท้องผูก :
  • ยาที่เพิ่มกากใยให้อุจจาระ เช่น Metamucil
  • ยากลุ่มที่ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม เช่น Lactulose

ใช้ได้อย่างปลอดภัย

ใช้ได้อย่างปลอดภัย

เอกสารอ้างอิง

  1. คณาจารย์ ภาควิชาเภสัชวิทยา. เภสัชวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2555.
  2. Lacy CF, Armstrong LL, Goldman MP, Lance LL., editors. Drug information handbook: International. 21st .Ohio: Lexi-comp. 2012-2013.
  3. สุวิมล ยี่ภู่. การใช้ยาในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร. ตำราเภสัชกรครอบครัว. ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: บริษัทประชาชน จำกัด 2557; 227-55.
  4. พนารัตน์ แสงแจ่ม, สุวิมล ยี่ภู่.การใช้ยาในสตรีให้นมบุตร. คู่มือการใช้ยาสำหรับบุคลากรสาธารณสุข.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัทประชาชน จำกัด 2550; 97-112.
  5. So M, Bozzo P, Inoue M, Einarson A. Safety of antihistamines during pregnancy and lactation [Internet]. CFP. 2010; 56:427-29.
  6. SPENCER JP, GONZALEZ LS, BARNHART DJ. Medications in the Breast-Feeding Mother. Am Fam Physician. 2001; 64:119-127.
  7. Briggs GG, Freeman RK, Yaffe SJ. Drugs in pregnancy and lactation. 8th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2008.

คำค้นที่เกี่ยวข้อง:
หญิงให้นมบุตร ยาที่ห้ามใช้ นมแม่
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้