โรคน้ำหนีบ (Decompression sickness)
อาจารย์ ดร.ภก.วสุ ศุภรัตนสิทธิ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
26,080 ครั้ง เมื่อ 21 นาทีที่แล้ว | |
2022-05-28 |
โรคน้ำหนีบ หรือ Decompression sickness เป็นโรคที่คนทั่วไปอาจไม่ค่อยคุ้นหู แต่มีความสำคัญมากในกลุ่มนักดำน้ำ โดยเมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะที่ความกดอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แก๊สเฉื่อยในร่างกายจะรวมตัวกันขนาดใหญ่ทำให้เกิดฟองก๊าซ (gas bubble) ไปอุดตันภายในกระแสเลือด หรือไปซึมเข้าเนื้อเยื่อของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ส่งผลให้เนื้อเยื่อบาดเจ็บและเกิดอาการต่าง ๆ ตามมา
ในกรณีของนักดำน้ำ โดยเฉพาะการดำน้ำลึก (self-contained underwater breathing apparatus; SCUBA) ถ้านักดำน้ำดำน้ำที่ความลึกประมาณ 30 ฟุต ร่างกายอยู่ในสภาวะที่ความกดอากาศภายนอกสูง ก๊าซเฉื่อยภายในร่างกาย โดยเฉพาะไนโตรเจนจะก่อตัวใหญ่ขึ้น ร่างกายจะปรับสมดุลด้วยการพยายามขับก๊าซเฉื่อยออกด้วยการหายใจ ซึ่งถ้าหากนักดำน้ำขึ้นสู่ผิวน้ำเร็วเกินไป ก๊าซเฉื่อยดังกล่าวก็จะถูกขับออกจากร่างกายไม่ทัน ก๊าซที่รวมตัวกันจึงมีขนาดใหญ่และส่งผลเสียต่อร่างกายดังที่กล่าวข้างต้น ทั้งนี้นักดำน้ำจึงมักมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า dive computer ที่บอกความลึก อุณหภูมิ ระยะเวลาการดำน้ำที่เหลือในแต่ละรอบการดำน้ำนั้น ๆ เพื่อป้องกันการเกิดโรคน้ำหนีบ
โรคน้ำหนีบพบค่อนข้างน้อยประมาณ 3 ราย ต่อการดำน้ำ 10,000 ครั้ง แต่เป็นโรคที่มีความสำคัญเพราะหากมีความรู้ความเข้าใจสามารถป้องกันได้ แต่ถ้าเกิดโรคดังกล่าวถือเป็นภาวะฉุกเฉิน ในบางครั้งรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โรคน้ำหนีบมีความสัมพันธ์กับผู้ที่มีโรคอ้วน (high body fat content) สภาพแวดล้อมเย็น ภาวะขาดน้ำ (dehydration) และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ บางการศึกษาพบว่า การออกกำลังกายก่อนดำน้ำลึกช่วยป้องกันการเกิดโรคน้ำหนีบ แต่ในทางกลับกันหากออกกำลังกายหลังจากดำน้ำลึกจะเพิ่มโอกาสเกิดโรคน้ำหนีบได้
แบ่งตามความรุนแรงของโรคและอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ
รีบนำผู้ป่วยออกจากที่อันตราย จัดท่าทางให้ผู้ป่วยนอนหงายหรือตะแคงซ้าย เพื่อป้องกันไม่ให้ฟองก๊าซไหลจากระบบหลอดเลือดดำเข้าระบบหลอดเลือดแดง ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายผู้ป่วย และรีบโทร 1669
สุดท้ายนี้หากรู้สึกมีอาการผิดปกติ ไม่แน่ใจภายหลังจากการดำน้ำควรรีบพามาโรงพยาบาล รวมทั้งการใช้ยาทุกครั้งควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ยากับท่านเอง และอย่าลืมว่า “มีปัญหาเรื่องยา ปรึกษาเภสัชกรนะครับ”
อาหารหลากสี มีประโยชน์หลากหลาย (ตอนที่ 3): สารเคมีที่มีประโยชน์จากผักผลไม้ที่มีสีม่วงและสีน้ำเงิน 1 วินาทีที่แล้ว | |
เคล็ดไม่ลับสำหรับสายเนื้อย่าง เพื่อห่างโรคมะเร็ง 12 วินาทีที่แล้ว | |
ยาทาสเตียรอยด์สำหรับโรคผิวหนัง 14 วินาทีที่แล้ว | |
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพร 14 วินาทีที่แล้ว | |
ยาหอม..มรดกทางภูมิปัญญา ที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ 26 วินาทีที่แล้ว | |
ยาห้าราก : ตำรับยาสมุนไพรแก้ไข้ 42 วินาทีที่แล้ว | |
กินอะไร...ชะลอจอประสาทตาเสื่อม 42 วินาทีที่แล้ว | |
กระชายดำกับสมรรถภาพทางเพศชาย 45 วินาทีที่แล้ว | |
“ถาม-ตอบ” เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองโรค COVID-19 46 วินาทีที่แล้ว | |
คันและยาบรรเทาอาการคัน 1 นาทีที่แล้ว |
|
HTML5 Bootstrap Font Awesome