Loading…

เมล็ดเจีย/เมล็ดเชีย (Chia seed) ลดน้ำหนักได้ ?

เมล็ดเจีย/เมล็ดเชีย (Chia seed) ลดน้ำหนักได้ ?
พนิดา ใหญ่ธรรมสาร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
40,687 ครั้ง เมื่อ 18 นาทีที่แล้ว
2017-05-05
"Sitting Kills, Moving Heals” (นั่งมรณา เคลื่อนไหวรักษา)"
เจีย หรือ เชีย เป็นพืชในกลุ่มเครื่องเทศวงศ์เดียวกับกะเพรา หรือ มินต์ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ชื่อว่า Salvia hispanica L. วงศ์ Lamiaceae ลักษณะลำต้นสูงประมาณ 4 - 6 ฟุต เป็นพืชให้เมล็ดเล็กๆ มีสองสี คือดำและขาว เปลือกนอกเมล็ดพองตัวได้เหมือนเมล็ดแมงลัก ซึ่งปัจจุบันมีผู้นิยมบริโภคเมล็ดเจียกันมาก จากข้อมูลการศึกษาวิจัยพบว่าในเมล็ดเจียมีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว อัลฟาไลโนเลนิก (α-linolenic acid : ALA) หรือโอเมก้า-3 อยู่ร้อยละ 62.48 และมีกรดไลโนเลอิก (linoleic acid : LA) หรือโอเมก้า-6 อยู่ร้อยละ 22.43 ของกรดไขมันทั้งหมดในเมล็ดเจีย นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกเนเซียม และสารต้านอนุมูลอิสระ อีกด้วย ในกระแสช่วงนี้มีผู้นิยมบริโภคเมล็ดเจียเพื่อลดน้ำหนักซึ่งจากการศึกษาวิจัยทางคลินิก พบว่าการรับประทานเมล็ดเจียขนาด 35 - 40 ก./วัน สามารถลดความระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาล ระดับไขมันในเลือด และลดน้ำหนักได้ แต่การศึกษายังมีไม่มากพอที่จะสรุปได้อย่างชัดเจน

ภาพจาก : https://www.123rf.com/photo_26904787_seeds-of-the-chia-plant-salvia-hispanica.html
ซึ่งงานวิจัยในเรื่องของการลดน้ำหนักนั้นเป็นการศึกษาในผู้ที่เป็นโรคอ้วน และผู้ที่มีน้ำหนักเกิน โดยให้รับประทานเมล็ดเจียบดเป็นผง 35 ก./วัน นาน 12 สัปดาห์ พบว่าที่ผู้เป็นโรคอ้วนน้ำหนักลดลงมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักเกินเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และกลุ่มที่ได้รับเมล็ดเจียรอบเอวลดลง ในขณะที่อีกหนึ่งการศึกษาให้รับประทานเมล็ดเจีย 50 กรัม/วัน นาน 12 สัปดาห์ ในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน พบว่าไม่สามารถลดน้ำหนักได้ แต่มีผลทำให้ระดับ ALA ในเลือดสูงขึ้น จะเห็นได้ว่าการศึกษายังให้ผลไม่ไปในทิศทางเดียวกันอาจต้องการศึกษาเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามการรับประทานเมล็ดเจียมีข้อควรระวังเช่นกัน คือ ผู้ที่ปัญหาเกี่ยวกับระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดเพราะเส้นใยอาหารที่พองตัวในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 นอกจากนี้เนื่องจากเมล็ดเจียมีกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 สูง ดังนั้นต้องหยุดรับประทานในผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดและไม่ควรรับประทานในผู้ที่มีประวัติการใช้ยาแอสไพริน หรือผู้ที่มีภาวะฮีโมฟิเลีย (haemophilia) หรือภาวะที่เลือดแข็งตัวช้า เลือดไหลไม่หยุด เพราะจะทำให้เลือดหยุดยาก จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นหากผู้บริโภคต้องการรับประทานเมล็ดเจียเพื่อช่วยในเรื่องการลดน้ำหนัก คงต้องรับประทานในปริมาณที่กำหนดไว้ ควบคู่ไปกับการเลือกและควบคุมอาหารที่มีประโยชน์ พร้อมทั้งการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคน
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ จุลสารข้อมูลสมุนไพร ปีที่ 34 ฉบับที่ 2
แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. http://articles.mercola.com/sites/articles/archive/2013/06/23/vernikos-sitting-kills.aspx.
  2. Reddy S. The Price We Pay for Sitting Too Much. Wall Street Journal, Sep. 28, 2015.
  3. Hagger-Johnson G, Gow AJ, Burley V, Greenwood D, Cade JE. Sitting time, fidgeting, and all-cause mortality in the UK women’s cohort study. Am J Prev Med 2016;50(2):154–160.
  4. Coenen P, Willenberg L, Parry S, Shi JW, Romero L, Blackwood DM, et al. Associations of occupational standing with musculoskeletal symptoms: a systematic review with meta-analysis. Br J Sports Med. DOI: 10.1136/bjsports-2016-096795
-->

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

ไซยาไนด์: ความเป็นพิษ อาการ และการแก้พิษเบื้องต้น 1 วินาทีที่แล้ว
รอบรู้เรื่องธาตุกัมมันตรังสี 1 วินาทีที่แล้ว
กาแฟ…ระวังในโรคใด? 2 วินาทีที่แล้ว
รู้เท่าทันการใช้ฮอร์โมนทดแทนในหญิงวัยหมดประจำเดือน 10 วินาทีที่แล้ว
กรดผลไม้กับการลอกหน้าผลัดเซลล์ผิว 11 วินาทีที่แล้ว
ยาที่ไม่ควรกินร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 22 วินาทีที่แล้ว
ยาก่อนอาหาร ยาหลังอาหาร ลืมกินยาตามเวลา อันตรายหรือไม่ 23 วินาทีที่แล้ว
การรักษาแผลเป็นโดยการใช้สารสกัดจากหัวหอม 27 วินาทีที่แล้ว
มะระขี้นก 37 วินาทีที่แล้ว
แอสไพริน (aspirin) 37 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล