Sleep Apnea : ง่วง นอนกรน นอนไม่อิ่ม
เภสัชกรหญิง กิตติมา วัฒนากมลกุล ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
60,568 ครั้ง เมื่อ 3 ช.ม.ที่แล้ว | |
2011-05-22 |
เป็นภาวะที่มีการหยุดหายใจเป็นระยะๆหรือมีการหายใจตื้นๆสลับกับการหายใจที่เป็นปกติในระหว่างที่นอนหลับ ซึ่งช่วงการหยุดหายใจดังกล่าวอาจเป็นเพียงไม่กี่วินาทีหรืออาจยาวเป็นนาทีก็ได้ โดยมักเกิด 5-30 ครั้งหรือมากกว่าในเวลา 1 ชั่วโมง ส่งผลให้นอนหลับได้ไม่เต็มที่ และมีอาการง่วงมากผิดปกติในช่วงระหว่างวันตามมา ซึ่งอาจนำมาสู่การเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น การหลับขณะขับรถ เป็นต้น รวมทั้งสมาธิและความจำก็จะลดลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงไปด้วย
โดยส่วนใหญ่แล้วภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่พบนั้นจะเป็นประเภทที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ (obstructive sleep apnea) มีสาเหตุมาจากการคลายตัวของกล้ามเนื้อที่ทางเดินหายใจ การหนาตัวของเนื้อเยื่อผนังคอในผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาก การโตของต่อมทอนซิลในเด็ก หรือภาวะเนื้องอกบริเวณทางเดินหายใจ เป็นต้น ซึ่งการที่อากาศต้องเดินทางผ่านทางเดินหายใจที่แคบลงสามารถก่อให้เกิดเสียงกรนขึ้นได้
อีกประเภทหนึ่งที่พบได้น้อยกว่านั่นคือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเนื่องความผิดปกติของการสั่งงานของสมอง (central sleep apnea) ภาวะนี้สมองส่งสัญญาณควบคุมที่ผิดปกติไปยังกล้ามเนื้อในระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการหยุดหายใจชั่วครู่
อันตรายหรือไม่? หายานอนหลับมารับประทานเองได้หรือไม่?
การหยุดหายใจขณะหลับทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดลดลง ส่งผลให้สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จึงมีการกระตุ้นร่างกายให้ตื่นขึ้นมาเพื่อหายใจ เมื่อเกิดการหยุดหายใจบ่อยๆ ผู้ป่วยจึงหลับๆตื่นๆตลอดคืนและไม่ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำให้รู้สึกว่าตนเองนอนไม่หลับและตื่นขึ้นมาไม่สดชื่น จากระดับออกซิเจนในเลือดที่ลดลงประกอบกับการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด ส่งผลเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และมีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ และหัวใจวาย นอกจากนี้ภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ไม่ได้รับการรักษายังสามารถนำไปสู่การใช้พลังงานของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเพิ่มความเสี่ยงของภาวะอ้วนและเบาหวาน
จากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ป่วยบางรายที่รู้สึกว่าตนเองนอนไม่หลับนั้นจะพยายามหายานอนหลับมารับประทางเองเพื่อให้นอนหลับได้ดีขึ้น ซึ่งยานอนหลับบางชนิดที่ออกฤทธิ์กดประสาทแรง เช่น midazolam, alprazolam และ diazepamจะมีผลกดการกระตุ้นของร่างกายที่ทำให้ตื่นขึ้นเมื่อระดับออกซิเจนในเลือดลดต่ำลง ดังนั้นการใช้ดังกล่าวอาจทำให้ผู้ป่วยถึงกับเสียชีวิตจากการหยุดหายใจได้ เพราะฉะนั้นแล้วจึงไม่ควรหายามาใช้เอง
ปัจจัยเสี่ยงมีอะไรบ้าง?
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และมีการพบสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ผู้หญิงมักเริ่มมีภาวะนี้เมื่อตั้งครรภ์และเข้าสู่วัยทอง นอกจากนี้บุคคลที่มีโครงสร้างของระบบทางเดินหายใจแคบ ไม่ว่าจะเพราะโครงสร้างแต่กำเนิด ภูมิแพ้ หรือผลจากการใช้ยาบางชนิด มีแนวโน้มที่จะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากกว่าปกติ
จะสังเกตได้อย่างไร?
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับนี้ สามารถสังเกตเบื้องต้นได้จากอาการต่อไปนี้
ควรปฏิบัติตนอย่างไร?
เมื่อเริ่มสังเกตหรือสงสัยว่าอาจมีภาวะดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
มีวิธีการรักษาหรือไม่? อย่างไรบ้าง
วิธีการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีหลากหลายตั้งแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้เครื่องมือช่วยให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น ไปจนถึงการผ่าตัด ซึ่งการตัดสินใจเลือกใช้วิธีใดนั้นต้องพิจารณาตามความเหมาะสมตามแต่ละบุคคล จึงควรได้รับการดูแลจากแพทย์
1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2. การใช้เครื่องมือ
3. การผ่าตัด
ต้องอยู่ภายใต้ดุลยพินิจและการดูแลของแพทย์
References
กินยาพร้อมนม ได้ผลหรือไม่ ? 8 วินาทีที่แล้ว | |
อ่านฉลากยาดีๆ มีประโยชน์ 15 วินาทีที่แล้ว | |
ยาแก้ข้ออักเสบ (กลุ่มเอ็นเสด)..ระวังอันตรายต่อไต 1 นาทีที่แล้ว | |
ยาแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ-กลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) 1 นาทีที่แล้ว | |
ทรามาดอล (Tramadol) เหยื่อของการนำยาไปใช้ในทางที่ผิด 1 นาทีที่แล้ว | |
สิวเชื้อรา และการรักษา 1 นาทีที่แล้ว | |
ผลแลปจากการตรวจเลือด....มีความหมายว่าอย่างไร 1 นาทีที่แล้ว | |
ยาแก้ไอ เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (dextromethorphan) และการนำไปใช้ ในทางที่ผิด 1 นาทีที่แล้ว | |
โรคมือเท้าปากในเด็ก 1 นาทีที่แล้ว | |
ยารักษาโรคกระดูกพรุน...เหตุใดจึงกินหลังตื่นตอนเช้าโดยกลืนยาทั้งเม็ดพร้อมน้ำเปล่า? 1 นาทีที่แล้ว |
|
HTML5 Bootstrap Font Awesome